Learning
Log 14 นอกห้องเรียน
จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ
“เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบรูณาการทักษะ”ในวันที่ 30
เวลา 08.00-12.00 น. ต่อกันด้วยท่านวิทยากรคนเดิม ผศ.ดร ศิตา เยี่ยมขันติถาวร
มาพูดคุยกันในหัวข้อแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นความเหมาะสมในการใช้ภาษา
และวิธีการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์มีหลายวิธีสอน เช่น
วิธีสอนแบบตรง (Direct Method) อิงแนวคิดที่ว่า ‘ภาษา’ คือ ‘ภาษาพูด’ การเรียนภาษา คือการให้ผู้เรียนได้สื่อสารด้วยภาษาที่เรียนนั้น
และเพื่อให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น
การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการที่จะคิดเป็นภาษาที่เรียนด้วย
ดังนั้นการเรียนการสอนภาษาจึงควรใช้ภาษาต่างประเทศที่เรียนนั้นตลอดเวลาและสื่อสารราวกับอยู่ในสถานการณ์นั้นจริงๆ
วิธีสอนแบฟัง-พูด (The
audio-Lingual Method) อิงแนวคิดที่ว่า ‘ภาษา’ คือ ‘ภาษาพูด’
การสอนภาษาจึงเริ่มจากการฟัง-พูดซึ่งเป็นพื้นฐานไปสู่การอ่านและการเขียน
ดังนั้นภาษาที่นำมาให้ผู้เรียนเรียนควรเป็นภาษาที่เจ้าของภาษาใช้พูดกันในชีวิตประจำวัน
จึงมีการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาด้วย ผู้เรียนจะต้องเลียนแบบเสียงของผ็สอน
จนสามารถฟังเข้าใจ เน้นการท่องจำบทสนทนา แล้วจึงเริ่มการฝึกอ่านและเขียน
วิธีสอนแบบธรรมชาติ (The
natural Approach)
เป็นการรับรู้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยไม่มีใครสอน
พัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสารเกิดขึ้นกับเจ้าของภาษาโดยที่ยังคงให้ความสำคัญของความถูกต้องในการใช้ไวยากรณ์
โดยวิธรตรวจแก้ไขไปเรื่อยๆ
และในระยะยาวผู้เรียนจะสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักไวยากรณ์
โดยเชื่อว่าความเข้าใจข้อความจะมาก่อนการพูดสนทนา
และไม่จะเป็นต้องแสดงออกในด้านการพูด
วิธีสอนแบบชักชวน (Suggestopedia) การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยความสนุกสนานผ่อนคลายทางจิต
กิจกรรมทางภาษาที่เน้นการสื่อสาร เน้นสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงในการใช้ภาษา เช่น
การแสดงละคร การฟังบทสนทนาโดยมีดนตรีเบาๆประกอบ
การเรียนรู้แบบรวมมือ
( Cooperative
Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดให้ผู้เรียนยังมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะเป็นประชาธิปไตย
เช่น คิดและคุยกัน กิจกรรมโต๊ะกลม คู่ตรวจสอบ
การเรียนรู้จากการทำโครงงาน
(Project
–Base Learning)
เป็นวิธีการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การทำโครงงานต้องเริ่มต้นจากผู้เรียนเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติ
หาหนทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีผู้สอนคอยแนะนำช่วยเหลือ กระตุ้น เช่น
การจัดนิทรรศการ
ต่อไปจะเป็นการกล่าวเสวนาในหัวข้อ
‘แนวการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณการเนื้อหาและทักษะภาษา’ และ
‘แนวการสอนเพื่อการสื่อสาร(The Communicative
Approach หรือ Communicative Language
Teaching)’ เป็นการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญของผู้เรียนโดยเริ่มจากการฟังไปสู่การพูด
การอ่าน การจับใจความสำคัญ ทำความเข้าใจ จดจำ แล้วนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้
การสอนภาษาว่าด้วยการนำเสนอภาษาใหม่ในรูปแบบภาษาที่พบในสถานการณ์จริง
เพื่อนำไปสู่การสอนคำศัพท์ ไวยากรณ์ การออกเสียงมีการฝึกฝนจนสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและจึงนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเป็นการเชื่อมโยงความคิดรวบยอดและประสบการณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน
เป็นการช่วยให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้จากวิชาหนึ่งไปอีกวิชาหนึ่ง และยังสามารถเชื่อมโยงสิ่ที่เรียนให้เข้ากับชีวิตจริงและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้
จนเกิดการเรียนรุ้ที่มีความหมายมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น