วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Homework


จงแปลประโยคต่อไปนี้

1. First year students have student English for at least 10 years.
นักศึกษาปีหนึ่งเรียนอังกฤษอย่างน้อยสิบปี
2. An accident took place when the plane was flying above a paddy field.
เมื่อเครื่องบินกำลังบินอยู่เหนือนาข้าวได้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น
3. The truck driver was unidentified.
คนขับรถบรรทุกถูกระบุไม่ได้
4. Tomorrow I’ll go out of town.
พรุ่งนี้ฉันจะออกไปนอกเมือง
5. Yesterday it rained hard.
เมื่อวานนี้ฝนตกหนัก
6. We invited him to give a lecture over here.
เราเชิญเขาให้มาบรรยายที่นี่
7. I used to study at a boarding school.
ฉันเคยเรียนที่โรงเรียนประจำ
8. Have you eaten?
คุณกินข้าวหรือยัง?
9. I' am still doing my homework.
ฉันยังคงทำการบ้านของฉัน
10. He always teases me.
เขาหยอกล้อฉันอยู่เสมอ
11. I always get wrong answers.
ฉันได้รับคำตอบที่ผิดเสมอ
12. I was about to ask you about that.
ฉันกำลังจะถามคุณเกี่ยวกับสิ่งนั้น






Learning Log 1 ในและนอกห้องเรียน

Learning Log 1 ในและนอกห้องเรียน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนมี 2 ประเด็น
1.ประเด็นแรก คือ ทฤษฎี comprehensible input
         I+1= comprehensible input
ซึ่ง   I  หมายถึง input background knowledge
       1 หมายถึง level of background
        Comprehensible input ครูต้องจัดสภาพแวดล้อมและสื่อต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่ป้อนเข้าไป (input) เป็นการพัฒนาผู้เรียนจาก I ไปสู่ I+1 คือเป็นการพัฒนาสิ่งมีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ต่างๆจากในหนังสือและความรู้รอบตัวต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายขึ้น ถ้าเราใช้ความรู้เดิม (I) เพื่อจะเรียนเรื่องต่อไป บางครั้งต้องใช้ความรู้เดิมเพื่อช่วยให้เข้าใจเรื่องต่อไปง่ายขึ้น
2. ประเด็นที่สอง คือ กาล
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมักจะมีปัญหาเรื่อง เวลา ประโยคในภาษาอังกฤษที่ใช้กาลต่างกัน อาจแปลเป็นภาษาไทยเหมือนกัน คล้ายกับว่าไม่มีข้อแตกต่างกันเลย เช่น
       1) He lived in NST for a year.
       2) He has lived in NST for a year.
       1) เขาเคยอยู่นครศรีธรรมราชหนึ่งปี
       2) เขาอยู่นครศรีธรรมราชมาหนึ่งปีแล้ว
ประโยคภาษาอังกฤษทั้งสองข้อใช้กาลต่างกัน แลมีความหมายต่างกัน
       1) He lived in NST for a year. ใช้กริยาเป็น past simple มีความหมายว่า เขาเคยอยู่นครศรีธรรมราชมาก่อนหนึ่งปี และตอนนี้เขาไม่ได้อยู่แล้ว
       2) He has lived in NST for a year.ใช้กริยาเป็น present perfect มีความหมายว่า เขาอยู่นครศรีธรรมราชมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ตอนนี้เขาก็ยังอยู่

สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
         เมื่อพูดถึงการฝึกภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนด้วยตนเองการฝึกด้วยเพลงก็เป็นหนึ่งในการฝึกที่มีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากจะได้ฝึกฟังสำนวนภาษาและเรียนรู้วิธีออกเสียงแล้ว เพลงยังทำให้รู้สึกเพลิดเพลินและผ่อนคลายอีกด้วยซึ่งเพลงที่ฉันฝึกฟังก็คือ I’m your ของ Justin Bieber



ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ (parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้างเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์ เช่นถ้าต้องการใช้คำที่ทำหน้าที่ประธานของประโยค เราต้องใช้คำนาม แต่ถ้าเราใช้คำชนิดอื่นประโยคจะผิดไวยากรณ์ ดังนั้นเมื่อจะสร้างประโยคต้องคำนึงถึงชนิดของคำ และต้องคิดด้วยว่าเวลานำไปใช้จริง คำชนิดนั้นเกี่ยวพันกับประเภททางไวยากรณ์อะไรบ้างในภาษานั้นๆ
ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ เช่น บุรุษ (person) ,พจน์ (number) ,ลิงค์ (gender) ,การก (case) , กาล (tense) , มาลา ( mood) ,วาจก (voice) เป็นต้น
1.1 คำนาม เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษพบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ (marker) ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญ หรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย ได้แก่ บุรุษ (person) ,พจน์ (number) ,การก (case)ความชี้เฉพาะ (definiteness) และการนับได้ (count ability)
1.1.1 บุรุษ (person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยค ภาษาอังกฤษจะแยกรูปสรรพนามตามบุรุษที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อย่างเด่นชัด เช่น  (บุรุษที่ 1)  you (บุรุษที่ 2) he/she (บุรุษที่ 3) ส่วนภาษาไทยไม่แยกเด่นชัด เพราะบางคำก็ใช้ได้หลายบุรุษ เช่น เรา (บุรุษที่ 1,2)เขา (บุรุษที่ 1,3),ตัวเอง (บุรุษที่ 1,2) เป็นต้น  
1.1.2 พจน์ (number) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่งหรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ ตัวกำหนด (determiner) ที่ต่างกัน เช่น ใช้ a/an นำหน้าคำนามเอกพจน์ และเติม –s แสดงพหูพจน์ แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้เช่นนั้น เช่น  Cat are beautiful animals. แมวเป็นสัตว์สวยงาม                    
1.1.3 การก (case) คือ ประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร เช่น เป็นประธาน กรรม สถานที่ เป็นต้น ในภาษาอังกฤษ การกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ เช่น ถ้าพูดว่า the dog bit he boy. จะต่างกับพูดว่า The boy bit the dog. ในประโยคแรก dog เป็นประธานหรือผู้กระทำ แต่ในประโยคหลัง dog เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำเพื่อแสดงการก แต่ใช้การเรียงคำ เหมือนกับการกประธานและกรรมในภาษาอังกฤษ
1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns) คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็นนามนับได้และนามนับไม่ได้ ความแตกต่างดังกล่าวแสดงโดยการใช้ตัวกำหนด a/an กับคำนามที่เป็นเอกพจน์ และเติม –s ที่นามนับได้พหูพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ไม่ใช้ a/an และต้องไม่เติม –s เช่น                        
นับได้(เอกพจน์)                  นับได้ (พหูพจน์)
                                        a cat                                cats
                                       a house                            houses  
นับไม่ได้ (ไม่แยกเอกพจน์-พหูพจน์ ถ้าแยกจะผิดไวยากรณ์)
Hair (*a hair, *hairs)
Water (*a water, *waters)
ในภาษาไทยคำนามทุกคำนับได้ เพราะเรามีลักษณะนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับคำนามต่างๆ เช่น แมว 1 ตัวบ้าน 3 หลังน้ำ 1หยด,ไข่ 10 ฟอง ในภาษาอังกฤษ มีการใช้หน่วยบอกปริมาณหรือปริมาตรกับคำนามที่นับไม่ได้ เช่น a glass of water, a cup of coffee, a bowl of rice
1.1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness) ประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้แก่ การแยกความต่างระหว่างนามชี้เฉพาะ (a/an) และนามไม่ชี้เฉพาะ (the) ดังนั้นเมื่อพูดว่า A man came to see you this morning. จึงต่างจาก The man came to see you this morning.
1.2 คำกริยา นับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค มีการใช้ซับซ้อนกว่าคำนาม เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆมาเกี่ยวข้องหลายประเภท เช่น กาล (tense)การณ์ลักษณะ (aspect)มาลา (mood)วาจก (voice) และการแยกความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite VS. non- finite)
1.2.1 กาล (tense) คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดง กาล เสมอว่าเป็นอดีต หรือไม่ใช่อดีต ผู้พูดไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากการบ่งชี้กาล ซึ่งประโยคทั้ง 2 ประโยคต่อไปนี้ต่างกันที่กาล
      (1)  Mary likes him.          (2)  Mary liked him.
คำหนึ่ง liked แสดงอดีตกาล ส่วนอีกคำ likes แสดงปัจจุบันกาล ส่วนคำแปลภาษาไทยสำหรับประโยคทั้งสองไม่ต่างกันเพราะภาษาไทยไม่ถือว่ากาลเป็นเรื่องสำคัญ
1.2.2 การณ์ลักษณะ (aspect) หมายถึงลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์ เช่น การดำเนินอยู่ของเหตุการณ์ การเสร็จสิ้นของการกระทำ การเกิดซ้ำของเหตุการณ์ เป็นต้น
ในภาษาอังกฤษ  การณ์ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่อง(ดำเนินอยู่) ซึ่งแสดงโดย Verb to have + present participle (-ing) และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น ซึ่งแสดงโดย Verb to have + past participle
ในภาษาไทย เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องหรือกำลังดำเนินอยู่แสดงด้วยคำว่า กำลังหรือ อยู่เช่น ตอนนี้เรากำลังรับประทานอาหารอยู่ ส่วนการลักษณะเสร็จสิ้นแสดงโดยคำว่า แล้วเช่น เขาอาบน้ำแล้วก็แต่งตัวไปทำงาน
1.2.3 มาลา (mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีต่อทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการแสดงมาลา แต่ในภาษาอังกฤษมีซึ่งแสดงมาลาโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries เช่น may, might, can, could เป็นต้น เช่น
(1) I wish I could fly.  (รูปปรกติคือ can)
(2) I wish I knew him. (รูปปรกติคือ know)
ในภาษาไทย มาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์เท่านั้นไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยา เช่น อาจ คงจะ ดูเหมือน บางที เป็นไปได้ว่า น่าจะ ฯลฯ
1.2.4 วาจก (voice) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (กรรตุวาจก) หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (กรรมวาจก)
ในภาษาอังกฤษประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นกรรตุวาจก เช่น
A speeding truck bit a bus full of nursery children yesterday in……..
ในภาษาไทยกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเองเพื่อแสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก แต่ความหมายของประโยคหรือกริยาช่วย ถูก โดน ได้รับ เป็น สามารถบ่งบอกกรรมวาจกได้ เช่น
(1) เขาได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดี
(2) นักเรียนถูกทำโทษเพราะลอกงานเพื่อน
1.2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite VS. non- finite) คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้ กล่าวคือ ในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ในภาษาไทยไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้ กล่าวคือกริยาทุกตัวในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน หรือเครื่องหมายที่ระบุได้ทันทีว่าตัวไหนเป็นกริยาแท้หรือไม่แท้ เช่น ตำรวจจับผู้ร้ายปล้นร้านทองได้แล้ว คำว่า จับและ ปล้นเป็นกริยาที่ไม่มีความแตกต่างกัน
1.3 ชนิดของคำประเภทอื่น ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับกริยา จะมีความซับซ้อนน้อยกว่า และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปล คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เองได้แก่ คำบุพบท (preposition) เช่น
(1) We first  met at a party.
(2) He smiled at me.

2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยแลภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง (construction) หมายถึง หน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เช่น หน่วยสร้างนามวลี (noun phrase construction) หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive construction) เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน
2.1 หน่วยสร้างนามวลีตัวกำหนด (determiner) +นาม (อังกฤษ) VS. นาม (ไทย) นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามสมอถ้าคำนามนั้นเป็นคำนามนับได้และเป็นเอกพจน์(ยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะและสรรพนาม) เช่น a cat, an apple เป็นต้น
2.2 หน่วยสร้างนามวลีส่วนขยาย +ส่วนหลัก (อังกฤษ) VS.ส่วนหลัก +ส่วนขยาย (ไทย) ในหน่วยสร้างนามวลี ภาอังกฤษวางส่วนขยายไว้หน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม
นอกจากนั้น ตัวกำหนดยังนำหน้านามเพื่อบ่งบอกความชี้เฉพาะของคำนาม ในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด แบบ a, an, the ในภาษาอังกฤษ มีแต่คำบ่งชี้ เช่น นี้ นั้น โน้น ซึ่งบอกความใกล้-ไกลและเฉพาเจาะจงเราอาจเรียกคำเหล่านี้ว่า ตัวกำหนด (determiner)
2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive construction) ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด และมีแบบเดียว คือ ประธาน/ผู้รับ การกระทำ+กริยา—verb to be + past participle+ (by+นาวลี/ผู้กระทำ) แต่ในภาษาไทยกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ
2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย) ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาเน้น topic (topic oriented language) ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาเน้น subject (subject oriented language) เช่น
The research result subject showed that the majority of users had never joined in library activities.
2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction) หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า เช่น เดิน-ไป-ดูหนัง เริ่มต้น-ตั้งใจ-ทำงาน-ต้องการ-สมัคร เป็นต้น





บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล


บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง ใช้ในทางการไปรษณีย์ ในการประชุมสัมมนานานาชาติ และใช้ในการพานิช ธุรกิจ การช่วยเหลือนานาชาติ ตลอดจนในการศึกษา จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมาย เพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆ ซึ่งผู้ที่ทำการติดต่อบางคนอาจจะรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปล เพื่อประหยัดเวลาและเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ งานแปลจึงสามารถยึดเป็นอาชีพได้ และได้รับการยกย่องว่าเป็นอาชีพที่ช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศให้เร็วยิ่งขึ้นโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี แลนอกจากนี้นักแปลยังสามารถนำชื่อเสียงมาสู่ตนเองได้ เช่น การแปล นวนิยายและสาระบันเทิงคดีต่างๆ
การแปลคืออะไร
ปราณี บายชื่น ได้ให้ความหมายของการแปลไว้ดังนี้คือ
1.การแปลเป็นกระบวนการที่กระทำต่อภาษาคือ เอาข้อความที่เขียนด้วยภาษาหนึ่งไปใช้แทนที่ข้อความที่เขียนด้วยอีกภาษาหนึ่ง
2.การแปลเป็นทักษะพิเศษ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
3.ผู้แปลจะต้องสามารถถ่ายทอดความคิดจากต้นฉบับออกมาเป็นภาษาที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งขึ้นกับความสามารถแลความรู้ของผู้แปลคือรู้ภาษา ได้แก่ โครงสร้างถ้อยคำสำนวน และรู้เนื้อหาของเรื่องที่แปลอย่างลึกซึ้ง การแปลจึงเป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้ แต่การแปลทางด้านวรรณคดีและการแปลร้อยกรองเป็นศิลปะชั้นสูงที่ต้องอาศัยจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ พรสวรรค์และความสามารถเฉพาะของผู้เรียน
คุณสมบัติของผู้แปล
เนื่องจากการแปลเป็นทักษะและศิลปะที่มีขบวนการที่กระทำต่อภาษา ผู้แปลจึงควรมีลักษณะดังนี้
1.เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ
3.เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา มีความเข้าใจแลซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4.เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
5.ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย เพราสิ่งที่สำคัญของการแปลคือ การถ่ายทอดความคิดเป็นนามรรมออกมาโดยใช้ภาษาซึ่งเป็นรูปะรม เนื่องจากความคิดเป็นเรื่องซับซ้อนลึกซึ้ง การทำความเข้าใจเป็นเรื่องของการใช้ภูมิปัญญาและความรอบรู้ของแต่ละคน
6.ผู้แปลต้องมีความอดทนเสียสละ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้แรงความคิดและเวลาเนื่องจากการแปลเป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะ ซึ่งต้องมีการฝึกฝนอย่างเข้มข้น การตรวจแก้ไข จึงจะเกิดทักษะ
บทบาทของการแปล
การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสาร (receiver) ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่รับสารจากผู้แปลอีกทีหนึ่ง ผู้แปลในฐานะที่เป็นตัวกลางในการส่งสารจึงมีบทบาทสำคัญมาก เพราะผู้แปลจะต้องเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารแลผู้รับสาร                                                             
                                                                     (Message)
Source -----> Source Language -----> Translator -----> Target Language -----> Receiver
คุณสมบัติของนักแปล
นักแปลจะต้องมีคุณสมบัติความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ดังนี้คือ
1.คุณสมบัติส่วนตัว
     1.1 มีใจรักงานแปล
     1.2 รักการอ่าน
     1.3 มีความสามารถในการอ่าน
     1.4 มีความตั้งใจและมั่นใจสูง
     1.5 มีความระเอียดรอบคอบ แลรมัดระวังในการใช้ถ้อยคำแลภาษา
     1.6 มีจรรยาบรรณของนักแปล
     1.7 มีความรู้ดี เฉลียวฉลาด
     1.8 มีจิตใจกว้างขวางและยอมรับฟังความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น
2.ความรู้
     2.1 มีความรู้ในภาษาทั้งสองอย่างดี
     2.2 มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง
     2.3 รักการค้นคว้าหาความรู้แลประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มเติมตลอกเวลา
     2.4 มีความรู้เฉพาด้านที่เกี่ยวข้องกับงานที่แปล
     2.5 มีความรู้ภูมิหลังเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของชาติที่เป็นเจ้าของภาษาต้นฉบับ
3.ความสามารถ
     3.1 สามารถตีความภาษาต้นฉบับได้อย่างดี
     3.2 มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้
     3.3 มีความสามารถในการส่งสาร
     3.4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ
     3.5 มีความสามารถในการแบ่งขั้นตอนในการแปล
4.ประสบการณ์
     4.1 ฝึกฝนการแปลอยู่เสมอ
     4.2 มีความรู้ในงานหลายสาขา
     4.3 มีความเข้าใจในระบบงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานที่แปล
     4.4 หาความรู้ แลเข้ารับการอบรมทางด้านการแปล
     4.5 รักการอ่านงานแปลของคนอื่นๆ เพื่อศึกษาจุดดีและจุดบกพร่อง  
ลักษณะของงานแปลที่ดี  
ลักษณะงานแปลที่ดี ควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับ ใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ ใช้รูปประโยคสั้นๆ แสดงความคิดเห็นได้แจ่มแจ้ง ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสม และรักษาแบบหรือสไตล์การเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำสำนวนให้เข้ากับสภาพสังคม เพื่อให้ผู้อ่านงานแปลเกิดความเข้าใจ
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
 1. ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดยทั่วไป ใช้ศัพท์เฉพาสาขา และศัพท์เทคนิคได้เหมาะสมรอบคลุมความหมายได้หมด และใช้รูปประโยควรรคตอนตลอดจนสำนวนเปรียบเทียบได้เหมาะสมด้วย
 2. สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้ เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
 3.ใช้การแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความเรียบเรียงแลเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ