วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 10 นอกห้องเรียน

Learning Log 10 นอกห้องเรียน

                ในปัจจุบันแน่นอนว่าประเทศที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษย่อมรู้ดีว่าคนจะเรียนรู้ภาษาให้ซาบซึ้งจะต้องสามารถใช้ภาษาเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรมสามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรมตามสถานการณ์ได้ในทุกทักษะของภาษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดีจะมีโอกาสในการจ้างงานสูง มากกว่าผู้ที่ไม่มีทักษะทางภาษาเลยอันเนื่องจากภาษาอังกฤษมีการใช้กันทั่วโลกมากกว่าภาษาอื่นๆ การเรียนรู้ภาษาให้ได้ผลดีจะต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบธรรมชาติ เน้นการมีส่วนร่วมทางภาษาให้มากที่สุด คือ ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้จากการฟังและการพูดอย่างเป็นธรรมชาติจนเกิดทักษะ เริ่มจากการพูดในชีวิตประจำวันในครอบครัว แล้วค่อยขยายออกไปสู่โลกภายนอกมากขึ้น เพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้ทักษะในระดับสูงขึ้น
                การสอนทักษะการพูดและทักษะการฟังเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และผู้สอนอันเป็นต้นแบบจะต้องพัฒนาความรู้ทางภาษาให้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาให้มากที่สุด ปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆที่อำนวยในการเรียนรู้ภาษา BBC, CNN เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยในการฝึกภาษาอังกฤษสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกได้ และเราจะต้องหมั่นฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถสื่อสารภาษาได้อย่างถูกต้องและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสถานการณ์ต่างๆได้ และการที่เราจะสามารถสื่อสารภาษาได้นั้นจะต้องมีฐานความรู้ด้านไวยากรณ์ ด้านคำศัพท์และการสะกดคำได้ไม่มากก็น้อยเพื่อต่อยอดการศึกษาทักษะการใช้ภาษา
                การเรียนภาษานอกห้องเรียนในวันนี้จะเป็นการฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ จาก VCD ชุด SAY IT RIGHT! ซึ่งการออกเสียงภาษาอังกฤษบางคนอาจคิดว่าไม่ใช่ปัญหา แต่จริงๆแล้วมันกลับเป็นตัวสร้างปัญหาให้กับคุณโดยไม่รู้ตัว เพราะการออกเสียงภาษาแบบผิดๆนั้นจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดแบบผิดๆไปด้วย และจะเป็นอย่างไรถ้าเราสั่งข้าวผัด (Fried rice) แต่เราออกเสียงผิดเป็น (Fried lice) ไม่ต้องสงสัยเลยเราก็จะได้ เหาผัด มากินแทน
คำว่า I got the tanks และ thanks TH นับเป็นอีกสียงหนึ่งที่ภาษาไทยไม่มี หลายคนใช้ ธ.ธงแทน TH เช่น Thank you จะกลายเป็น ธางค์ ยู แต่คงไม่เป็นไรแต่อย่าไปคิดว่า TH ตรงกับ ธ.ธงเพราะมันต่างกันโดยสิ้นเชิง ก่อนอื่นต้องอธิบายว่า ในภาษาอังกฤษมีไม่กี่คำที่สะกดด้วย TH และออกเสียงคล้าย ท.ทหาร ส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่หรือคำเฉพาะ เช่นคำว่า Thailand ออกเสียงว่า ไทย-แลนด์ คำอื่นๆที่เป็นอย่างนี้ได้แก่ Thomas (ทอม-มัส) ซึ่งเป็นชื่อผู้ชายกับ Thames (เทม-ส) แม่น้ำที่ไหลลงกลางเมืองลอนดอน นอกจากกลุ่มคำนี้แล้ว คำที่เหลืออยู่ที่สะกดด้วย TH คำนั้นห้ามออกเสียง TH ว่า ท หรือ T
เมื่อจะออกเสียง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ แลบลิ้นออกมา กัดลิ้นนิดๆ และก็ปล่อยใน VCD คำที่พูดถึงคำแรกคือคำว่า ขอบคุณ ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า thank you ตัวอักษร 2 ตัวแรกเป็น T-H  ดังนั้นต้องเอาลิ้นออกมานิดๆ เหมือนกบคำว่า thanks ที่แปลว่า ขอบคุณเหมือนกัน สำคัญมากที่จะต้องออกเสียงให้ชัด เพราะมีอีกคำหนึ่งในภาษาอังกฤษนั่นคือคำว่า tank ที่แปลว่า ถังทั้งหลาย เช่น I got the tanks, thanks. คำว่า thanks ออกเสียง TH ซึ่งไม่เหมือนกัน
คำว่า Three กับ Trees หมายเลข 3 จะมีเสียงแรกคือ TH ต่อด้วย r และก็ ee… th-r-ee… three ภาษาอังกฤษมีหลายคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงควบกล้ำนี้ วิธีออกเสียงก็คือ แลบลิ้นออกมาเพื่ออกเสียง TH อย่างถูกต้อง เสร็จแล้วรีบห่อริมฝีปากให้เล็กลงเพื่อออกเสียง R ต้นไม้คือ tree ไม่ต้องแลบลิ้นออกมาเวลาอกอกเสียง ต้นไม้ 3 ต้น ภาษาอังกฤษแปลว่า Three trees เช่น I drank tea beside three trees by the sea.ผมดื่มน้ำชาข้างๆต้นไม้ 3 ต้นที่ชายหาด นอกจากนี้ยังมีคำอื่นๆที่ออกเสียง THR ด้วย เช่น through ทะลุผ่าน, Thrust ผลัก, Throw ขว้าง, Thrash เฆี่ยน, Thread  ด้วย, Throne บัลลังก์, Thrive เจริญขึ้น เป็นต้น
ต่อไปจะเป็นการเรียนรู้ใบหน้าคำศัพท์ คือ ส่วนที่อยู่ด้านหน้าของคำศัพท์ เป็นต้น ช่วยบอกทิศทางของความหมาย บางตัวบอกแค่เป็นนัยๆว่าคำศัพท์นั้นน่าจะมีความหมายว่าอะไรแต่บางตัวก็บอกความหมายให้ชัดเจนเห็นกันอย่างโจ่งแจ้งเลยไม่ต้องเดา หน้านี้มีไว้ส่าย un (อัน) แปลว่า ไม่ เมื่อเติม un ไปที่ส่วนหน้าของคำศัพท์ คำศัพท์เหล่านั้นก็จะถูกปรับเปลี่ยนความหมายไปในทางตรงกันข้ามคล้ายกับการปฏิเสธส่ายหน้าในทันที เช่น
Happy (แฮ็พพิ) มีความสุข พอใส่ un ไปข้างหน้าเป็น unhappy (อันแฮ็พพิ) ปุ๊บความสุขที่มีนั้นก็สูญหายกลายเป็นไม่มีความสุขหรือเศร้าหมอง equal (อี๊คว่อล) แปลว่า เท่าเทียมกันเติม un ไปข้างหน้าเป็นunequal (อันอี๊คว่อล) ความหมายก็เปลี่ยนไปทันทีกลายเป็นไม่เท่าเทียมกัน clean (คลีน) มีความหมายว่าสะอาด เมื่อต้องการจจะบอกว่าไม่สะอาด ก็ให้ส่ายหน้าปฏิเสธคำศัพท์ด้วยการเติม un เข้าไปข้างหน้าเป็น unclean (อันคลีน) friendly (เฟรนลิ) ที่แปลว่า เพื่อนหรือมิตร หลังจากที่แปลรูปจาก friend มาเป็น friendly ซึ่งแปลว่า มีมิตรไมตรี แล้วเติมใบหน้า un ไปอีกทีจากมิตรภาพที่มีต่อกันอยู่ดีๆก็กลายเป็น unfriendly (อันเฟรนลิ) คือที่ไม่มีมิตรภาพต่อกันและกัน lucky (ลั้คคิ) มีความหมายว่า ที่โชคดี ที่มีโชค lock (ล็อค) เมื่อใช้เป็นคำกริยาแปลว่า ใส่กุญแจ แต่ unlock (อันล็อค) จะย้อนรอยหักล้างในทางปฏิเสธมีความหมายสวนทางเป็น ไขกุญแจที่ล็อคเอาไว้แล้วนั้นให้เปิดออกตัสนี้มีธรรมชาติคล้ายคลึงกับ do และ undo มากเพราะเป็นการแก้ไขหักล้างในสิงที่ได้ทำลงไปแล้วในขั้นตอนก่อนหน้า forgettable (ฟอเก็ทเทอเบิ่ล) แปลว่าที่สามารถลืมได้ ไม่ได้ประทับใจอะไรกับมันนัก มีที่มาจากคำศัพท์คำว่า forget ที่แปลว่า ลืม จาก forgettable ที่สามารถลืมได้ พอเติม un เข้าไป unforgettable (อันฟอเก็ทเทอเบิ่ล) ก็จะมีความหมายว่า ที่ประทับอยู่ในใจไม่อาจลืมได้หรือลืมไม่ลงนั่นเอง
ต่อไปจะเป็นการอ่านข่าวกีฬา ซึ่งเป็นข่าวอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องรู้คำศัพท์ของเขาโดยเฉพาะๆ กลุ่มคำที่ว่าด้วยการแข่งขัน มีดังนี้  คำแรก competition อ่านว่า คามเผอะทิเชิ่น คำนี้จะเกลื่อนกลาดอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ให้เห็นไม่เว้นแต่ละวัน หมายถึง การแข่งขัน ถ้าจะบอกต่อว่าเป้นการแข่งขันอะไร ก็เอาคำๆนั้นไปเหยาะไว้ข้างหน้ามัน เช่น a crossword competition หรือ a fishing competition ก็คือ การแข่งขันตกปลา และการที่จะบอกว่าเข้าร่วมแข่งขันนั้น ภาษาอังกฤษใช้คำว่า to enter หรือ to take part in a competition เช่น I will take part in the running competition. ฉันจะเข้าร่วมแข่งวิ่งด้วย คำที่สอง contest คำนี้อ่านออกเสียงว่า คานเท๊สท์ โดยเน้นไปที่ตัวแรก คำนี้ไปเน้นที่ความสามารถที่ไม่ต้องใช้พละกำลังมากมาย รวมทั้งความสวยงามในด้านอื่นๆ เช่น a beauty contest ก็คือ การแข่งขันประกวดนางงามทั้งหลาย การเข้าแข่งขันก็ใช้คำว่า enter การที่จะบอกว่า ส่งใครเข้าประกวดนั้น เขาใช้คำว่า to enter+ คนที่จะส่งเข้าประกวด แล้วก็ตามด้วย in/for a beauty contest หมายถึงเราตัดสินใจจะส่งเพื่อนเรา เข้าร่วมการแข่งขัน อีกหนึ่งคำหนึ่งคำที่ขาดไม่ได้คือ tournament คำนี้ออกเสียงว่า ทัวร์เนนอะเมิ่น โดยเน้นไปที่พยางค์แรก

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 10 ในห้องเรียน

Learning Log 10 ในห้องเรียน

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าไวยากรณ์มีความสำคัญหลายประการหากเปรียบไวยากรณ์เป็นเหมือนกระดูกสันหลังที่เป็นพื้นฐานช่วยให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษประสบความสำเร็จในการเรียนทั้งทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียน โดยเฉพาะทักษะการเขียน ผู้เขียนจะต้องรู้จักเรียบเรียงประโยคให้เป็นข้อความที่สามารถสื่อสารและทำให้ผู้อ่านเข้าใจในแนวคิดของผู้เขียนซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดความคิดความรู้ของตนออกมาให้ผู้อ่านได้เข้าใจต้องอาศัยความรู้ความสามารถในด้านศัพท์ ไวยากรณ์ การสะกดคำ และเครื่องหมายวรรคตอน โดยเฉพาะความรู้ด้านไวยากรณ์มีความสำคัญมากและเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การเขียนมีความชัดเจนเพื่อที่จะสามารถสื่อสารความคิดกับผู้อ่านและผู้ฟังได้
การเขียนโครงสร้างทางไวยากรณ์ถ้าได้รับการสริมแรงจากทักษะการเขียนก็จะทำให้โครงสร้างทางไวยากรณ์มีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น และผู้เรียนจะได้มีโอกาสนำเสนอโครงสร้างต่างๆที่ตนเรียนมาเรียบเรียงเป็นประโยคของตนเองทำให้เกิดความภูมิใจว่าตนเองก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ เช่น หลังจากการสอนเรื่อง Present Simple Tense แล้วครูผู้สอนก็สอนให้ผู้เรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับชีวิตกิจวัตรประจำวันของผู้เรียนก็จะเป็นการเสริมแรงให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับกริยาในรูปแบบปัจจุบันกาล ถ้าการเรียนการสอนเป็นไปตามนี้แล้วทักษะการเขียนจะเป็นธรรมชาติและมีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้นและจะไม่รูสึกหวาดกลัวหรือตื่นเต้นต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพราะคำพูดที่ว่าผู้เรียนประสบปัญหาเพราะขาดความแม่นยำในเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์ก็จะค่อยๆหมดไป
ไวยากรณ์ในห้องเรียนสัปดาห์นี้จะกล่าวถึงเรื่อง Noun Clause ซึ่งมีรูปแบบประโยคมีภาคประธานและภาคแสดง มีลักษณะเหมือนประโยคย่อยที่ซ้อนอยู่ภายใน โดยใช้คำนำหน้าประโยคเพื่อเชื่อมต่อกับประโยคใจความหลัก ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำนามดังกล่าวเรียกว่า noun clause ซึ่งทำหน้าที่ต่าง ๆ กันในประโยคโดยมีการใช้คำนำหน้าและสามารถลดรูปได้
Noun Clause แปลว่า นามานุประโยค หมายความว่า ประโยคนั้นทั้งประโยคถูกนำมาใช้เสมือนกับเป็นคำนามคำหนึ่ง และวิธีสังเกตว่า Clause ใดเป็น Noun Clause นั้นให้สังเกตได้ดังนี้คือ Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคของมันด้วย that ซึ่งแปลว่า ซึ่ง และ/หรือ Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคของมันด้วยคำที่แสดงคำนาม คือ How, which, what, where, when, why, who, whose, whom เช่น I don’t know how  
               
หน้าที่ของ Noun Clauses เมื่อนำมาใช้อย่างนาม เสมือนเป็นคำนามก็ย่อมทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับคำนามทั่วๆไปในทางไวยากรณ์นั่นคือ 1.เป็นประธานได้ (subject) ของกริยาได้ เช่น  a.  His statement is correct. b. What he said is correct. ในตัวอย่างข้างล่างประโยค a มีคำนามหรือกลุ่มคำนาม (noun phrase)  และประโยค มี  noun clause  ในตำแหน่งเดียวกันกับประโยค จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า What he said (สิ่งที่เขาพูด) ในประโยค b เป็นประโยคย่อย คือมีภาคประธาน he และภาคแสดง said โดยซ้อนอยู่ในประโยคอีกประโยคหนึ่งและทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคนั้นเทียบได้กับกลุ่มคำนาม His statement (คำพูดของเขา) ซึ่งเป็นประธานของประโยค a  2.เป็นกรรม (object) ของกริยาได้ เช่น I want to know where she live. ผมอยากรู้ว่าหล่อนอยู่ที่ไหน(where she lives เป็นกรรมของกริยา know) He promised that he would pay back the debt. เขาให้สัญญา เขาจะใช้หนี้คืนให้ (that he would pay back the debt. เป็นกรรมของกริยา promised) 3.เป็นกรรม (object) ของบุรพบท (preposition) ได้ เช่น Wanna laughed at what you said. วรรณนาหัวเราะเยาะสิ่งที่คุณพูด (what you said เป็นกรรมของ at) She is waiting for what she want. หล่อนกำลังรอคอยสิ่งที่หล่อนต้องการ (what she want เป็นกรรมของ for) 4.เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา (complement) ของกริยาได้ เช่น It seems that It is possible ดูเหมือนว่ามันเป็นไปไม่ได้ that It is possible เป็นส่วนสมบูรณ์ของคำกริยา seems) This is what you want. (What you want เป็นส่วนสมบูรณ์ของคำกริยา is ) 5. เป็นคำซ้อนของนามตัวอื่นได้ (appositive) เช่น His belief that coffee will keep him alert is incorrect.ความเชื่อของเขาที่ว่า กาแฟจะทำให้เขาตื่นอยู่เสมอนั้นไม่ถูกต้อง (that coffee will keep him alert เป็นคำซ้อนของ belief)
คำนำหน้า noun clause มีคำที่ใช้นำหน้าเพื่อเชื่อมกับ main clause คำที่ใช้นำหน้าดังกล่าว
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อยคือ 1. That นำหน้า noun clause ที่เป็นประโยคทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่า
หรือประโยคปฏิเสธ ตัวอย่าง เช่น That he will come is certain.  (การที่เขาจะมาเป็นสิ่งแน่นอน) คำว่า that มีความหมายว่า “การที่” ในกรณีที่ noun clause เป็นประธานของคำกริยาใน main clause และ that มีความหมายว่าว่าในกรณีที่ noun clause เป็นกรรม อนึ่ง noun clause ที่นำหน้าด้วย that มีโครงสร้างของประโยคครบถ้วน การนำ that ไปวาง ข้างหน้า noun clause เป็นเพียงการเชื่อม noun clause กับ main clause
การละ That (omission of that) ในประโยค noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย that หรือนำหน้าประโยคด้วย that นั้นถ้าเป็นภาษาธรรมดา (Informal) โดยเฉพาะภาษาพูดแล้วเราจะละ that เสมอ เช่น  He says coffee grows in Brazil. (=He says coffee grows in Brazil.) เขาพูดว่า กาแฟปลูกในประเทศบราซิล I know he’ll return soon. (=I know he’ll return soon ผมรู้ว่าเขาจะกลับมาเร็วๆนี้) 2.Noun Clause ที่ทำหน้าที่ด้วย wh-words จะมีหน้าที่บางประการใน Noun clause ดังนี้ Who, Whoever, Whom, Whomever ทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน Noun clause เช่น I want to know who he has chosen to marry. Whose คำนามที่ตามหลัง whose ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม กรรมตามบุพบทและส่วนเสริมประธานใน Noun clause เช่น I ask whose money was stolen. What, Whatever ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรมและส่วนเสริมประธานใน noun clause เช่น I want to know what her name is. Which, whichever มักมีคำนามตามหลัง โดยทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน noun clause เช่น I don’t know which brand is worth buying. Where, When, Why, How ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ในสถานที่ (Where, Wherever บอกสถานที่ เช่น Where he will stay has yet to be decided. When, whenever ใช้บอกเวลา เช่น you must find out when he is due to arrive at the airport. Why ใช้บอกสาเหตุหรือเหตุผล เช่น why he went to china was not known. How ใช้บอกกริยาอาการ เช่น Describe how you felt at the time.
               

Learning Log 9 นอกห้องเรียน

Learning Log 9 นอกห้องเรียน

การอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์คือสุดยอดของการอ่านแล้วเพราะในแต่ละวันจะมีข่าวปรากฏออกมามากมาย ทั้งตัวเนื้อข่าวและคำศัพท์ที่ต่างคิดค้นเพื่อมาบรรยายกัน ดังนั้นจึงบอกได้ว่าการอ่านข่าวนั้นเป็นการเรียนรู้แบบตลอดชีวิตเพราะข่าวนั้นมันมีทุกสาขาดังนั้นคนที่อ่านหนังสือพิมพ์ได้จึงต้องมีความรู้ทางศัพท์มากไอที่รู้แบบงูๆปลาๆเป็ดๆไก่ๆนั้นต้องถอยออกมาตั้งหลักแล้วค่อยๆสะสมวิทยายุทธ์กันไปจนแก่กล้าแล้วจึงค่อยเผยอหน้าไปสู้ใหม่เพราะดารอ่านข่าวต้องอาศัยการสนใจด้วย
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าช่วงที่เราจะอ่านนั้นมันเป็นข่าวประเภทใดและตัวเรามีความสนใจข่าวแต่ละชิ้นมากน้อยเพียงใดถ้าไม่สนใจก็อย่าไปเสียเวลาทนอ่านหรือทู่ซื้ออยู่กับมันเลยมันจะเสียทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพกายสู้ข้ามไปอ่านส่วนที่เราสนใจดีกว่าแต่ถ้าจะพิชิตหนังสือพิมพ์ทุกเรื่องให้ได้ก็ต้องใช้ความพยายามมากกันหน่อยแม้ว่ามันต้องทรมานอยู่บ้างแต่มันก็เป็นแค่ระยะแรกเท่านั้นไม่ถึงตายหรอก
การอ่านนั้นต้องเริ่มจากพาดศีรษะก่อนถ้าเข้าใจแล้วก็อ่านต่อไปเรื่อยๆปัญหาอยู่ตรงที่วาคงไม่มีใครในโลกอ่านข่าวทุกข่าวแล้วเข้าใจไปหมดสมมุติว่าเราต้องการจะอ่านข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรมสิ่งที่ต้องทำคือเราต้องค่อยๆเรียนรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับอาชญากรรมไปอย่างน้อย20วันติดกันโดยแต่ละวันที่เราอ่านต้องจดคำศัพท์ที่ไม่รู้และไปจัดการเปิดพจนานุกรมฉบับภาษาอังกฤษเป็นไทยเพื่อความรวดเร็ว
ในแต่ละวันผ่านไปเราต้องมั่นใจว่าเรามีความรู้คำศัพท์เพิ่มขึ้นในเรื่องนั้นๆเพราะเมื่อเราอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องนั้นครั้งแรกเราจะต้องไม่รู้คำศัพท์นั้นแน่นอน สมมุติว่าวันแรกเราเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้จัก เราก็จะก้มหน้าก้มตาเปิดพจนานุกรมและจดมันไว้ ถ้ามีเวลาว่างก็เอามาอ่าน เอามาดูสักวันมันต้องซึมเข้าไปในสมองบ้างเมื่ออ่านข่าวเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมพอรู้เรื่องแล้ว อยากเพิ่มขีดสามารถของตนเองก็ทำได้โดยการไปอ่านข่าวเกี่ยวกับกีฬา ข่าวธุรกิจ ดวงรายวัน เป็นต้น
อันดับแรกเรามาเริ่มอ่านจากพาดหัวข่าวก่อน Deficiency of vitamin could trigger heart attack, strokes ถ้าไม่รู้คำศัพท์มาก่อน เช่นถ้าไม่รู้คำว่า Deficiency, trigger, strokes ก็รีบตัดบทความนี้ไว้แล้วรีบเปิดพจนานุกรมได้เลยโดยไม่ต้องลังเล และเมื่อไปเปิดพจนานุกรมแล้วว่า Deficiency อ่าว่า ดิ-ฟิ- เซิ่น-ซี่ แปลว่า ที่ขาดแคลน จากนั้นก็เปิดหาคำที่สองต่อไป trigger อ่านว่า ทริ-เกอร์ แปลว่า ก่อให้เกิด,กระตุ้นให้เกิด คำสุดท้าย strokes อ่านว่า สะ-โตร๊คส์ แปลว่า อาการเส้นเลือดในสมองแตก
คำศัพท์แต่ละตัวนั้นมีหลายความหมายควรหารเฉพาะคำที่มีความหมายตรงกับที่เราอ่านในแต่ละเรื่องนั้นๆอย่าไปเขียนความหมายทั้งหมดของคำนั้นเพราะเราจะไม่มีวันจำมันได้หมด และจะต้องใช้สมุดเป็นโหลๆกว่าจะเรียนรู้คำศัพท์ในบทความนั้นๆได้หมด เมื่อจดความหมายของศัพท์แล้วก็อย่าลืมจดคำอ่านออกเสียงที่ถูกต้องไว้ด้วยและหมั่นออกเสียงตามที่พจนานุกรมเขียนเอาไว้ซึ่งสิ่งที่สำคัญก็คือต้องอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง
จากนั้นก็เริ่มอ่านเนื้อหา HARBOUR, Maine - -A simple vitamin deficiency could trigger 30 percent to 40 percent of the heart attack and strokes suffered by American men each year, a researcher reported on Monday แปลได้ว่า นักวิจัยรายงานเมื่อวันจันทร์ว่าการขาดวิตามินพื้นฐานสามารถทำให้เกิดโรคหัวใจและอาการเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งคนในอเมริกันเป็นอยู่ในแต่ละปีถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ สมมุติว่าไม่ทราบคำศัพท์ต่อไปนี้ก็เปิดพจนานุกรมและบันทึกไว้ว่า heart attack อ่านว่า ฮาร์ท –เออะ-แทร็คส์ แปลว่าโรคหัวใจ strokes อ่านว่า สะ-โตร๊คส์ แปลว่า อาการเส้นเลือดในสมองแตก suffer อ่านว่า ซะ-เฟอร์ แปลว่า ทรมานจาก,ทุกข์ทนกับ suffer+กรรมหรือ to suffering from the depression for 3 years. แปลว่า คนไข้ทุกข์ทรมานจากความหดหู่มาสามปีแล้ว
This startling revelation, emerging from a few dozen new studies, mean that vitamin supplements might prevent many of those heart attack, saving the country’s untold suffering and billions of dollars in medical costs. แปลได้ว่า การเปิดเผยอันน่าตกใจนี้ได้มาจากงานศึกษาวิจัยใหม่ๆหลายสิบชิ้น ชี้ให้เห็นว่า อาหารเสริมวิตามินนั้นอาจป้องกันผู้ที่เป็นโรคหัวใจจำนวนมากได้ ซึ่งเป็นการช่วยบรรเทาความทุกข์ที่มากมายและค่ารักษาพยาบาลนับพันล้านบาทของประเทศชาติ สมมุติว่ามีคำศัพท์ที่ไม่ทราบคือ startling อ่านว่า สะ-ตาร์ทริ่ง แปลว่าที่น่าตกใจ,น่าประหลาดใจอย่างมาก revelation อ่านว่า เร๊ะ-เวอะ-เล-เชิ่น แปลว่า การเปิดเผย (revel (v.)) emerging อ่านว่า อิ-เมอ-จิ่ง แปลว่า ที่เกิดมาจาก (มักตามด้วย from)
The vitamin is folic acid heralded in recent years for its critical role in preventing birth defects. แปลว่า วิตามินคือ กรดโพลิกซึ่งเป็นสัญญานบอกว่าในช่วงที่ไม่กี่ปีมานี้กรดนี้มีบทบาทสำคัญในการป้องกันความผิดปกติตั้งแต่เกิด คำว่า herald เป็นได้ทั้ง V. และ N. อ่านว่า เฮ- เริลด์ แปลว่า เป็นสัญญานบอกว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นเช่น  The sincere discussion herald the peaceful living. การพูดกันอย่างจริงใจเป็นสัญญานของการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข critical หมายถึงที่สำคัญ,ที่วิกฤต เช่น a critical situation. สถานการณ์ที่วิกฤต a critical role. บทบาทที่สำคัญ defects อ่านว่า ดิ-เฟ็ค หมายถึง สิ่งที่มาสมบูรณ์ สิ่งที่มีตำหนิ
Folic acid is found in green vegetable such as Brussels sprouts, spinaches and lettuce, and in many fruits, including apples and oranges. It is also available in most common multiple vitamin supplement แปลว่า กรดโพลิกถูกพบในพืชใบเขียว เช่น หน่อต้นบรัชเซล ผักขม และกะกล่ำ และยังพบในผลไม้อีกหลายชนิดรวมทั้งแอปเปิ้ลและส้ม นอกจากนี้ยังพบได้อีกในอาหารเสริมวิตามินโดยรวมทั่วไป including อ่านว่า อิน-คลู๊-ดิ่ง หมายถึง รวมทั้ง multiple vitamin อ่านว่า มัล-ติ-เพิ้ล-ไว-เทอะ-มิน หมายถึง วิตามินรวม
Iraq destroys machines used for making missile engines. แปลว่า พาหหัวข่าว เขาว่า อิรัคทำลายอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตเครื่องจักรขีปนาวุธ คำศัพท์ที่ไม่ทราบความหมายคือ destroy อ่าว่า ดิส-ทรอย หมายถึง ทำลาย missile อ่านว่า มิส-เสิล หมายถึง ขีปนาวุธ Agency France - Presses Dubai- Iraq has destroyed five machines for making banned missile engines, three years after it declared they had been eliminated in Gulf war raids, a UN source in the region said yesterday.แปลได้ว่าที่ดูไบ แหล่งข่าวองค์การสหประชาชาติที่ประจำอยู่ที่อิรักกล่าวเมื่องานนี้ว่าอิรักได้บุกทำลายอุปกรณ์ห้าเครื่องที่ใช้สร้างเครื่องจักรขีปนาวุธที่ถูกสั่งห้ามแล้วสามปีหลังจากอิรักประกาศว่าอุปกรณ์ทั้งหมดได้ถูกทำงายในการบุกโจมตีช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย
Iraq, which has promised to disclose all as pacts of its germ welfare programmed by the end of July, also gave a draft report on the programmed to UN exports visiting Baghdad last week, the UN source said without giving details. แปลว่า แหล่งข่าวจาดองค์การสหประชาชาติกล่าวโดยไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่า อิรักซึ่งให้สัญญาว่าจะเปิดเผยโครงการสงครามอาวุธชีวภาพ (เชื้อโรค) ในทุกๆด้านก่อนปลายเดือนกรกฎาคม จะส่งมอบรายงานอย่างคร่าวๆเกี่ยวกับโครงการให้แก่ผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติที่มาเยือนกรุงแบแดกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คำศัพท์ที่ไม่รู้คือ promised อ่านว่า พรา-มิส หมายถึง สัญญา disclose อ่านว่า ดิส- โคล๊ส หมายถึง เปิดเผย
เห็นหรือไม่ว่าการอ่านข่าวไม่ใช่เรื่องยากถ้าหากเรามีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในเรื่องที่เราอ่านมากและตั้งใจจดความหมาย คำอ่าน เวลาว่างๆก็นำคำศัพท์มาท่องจำ มันก็จะติดอยู่ในสองของเราและสามารถดึงมาใช้ได้ในการอ่านข่าวในชีวิตประจำวัน หรือใช้ในงานแปลต่างๆเป็นต้น และสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญนั้นก็คือการอ่านออกเสียงคำศัพท์ อย่าลืมไปว่าถ้าเราสื่อความหมายผิดเพี้ยนผุ้ฟังก็จะได้รับสารที่ผิดเพียนไปด้วย

               


วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 9 ในห้องเรียน

Learning Log 9 ในห้องเรียน

ในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ผู้พูดอาจต้องการสื่อสารข้อความที่มีรายละเอียด การอธิบายหรือขยายคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์ในประโยคโดยไม่อาจใช้คำกริยาวิเศษณ์เพียงคำเดียวหรือวลีเดียวได้ ในกรณีดังกล่าวส่วนที่ทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์ในประโยคอาจอยู่ในรูปของประโยคอีกประโยคหนึ่ง คือมีภาคประธานและภาคแสดง จึงมีลักษณะเหมือนประโยคย่อยที่ซ้อนอยู่ในประโยคหลัก โดยใช้คำนำหน้าประโยคย่อยนี้เพื่อเชื่อมกับประโยคหลัก ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนกริยาวิเศษณ์ในประโยคหลักดังกล่าวเรียกว่า Adverb clause
ในสัปดาห์นี้เราจะกล่าวถึงเรื่อง  Adverb clause นั่นเองซึ่ง adverb clause ใช้ขยายคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์ใน main clause โดยสามารถวางไว้ข้างหน้าหรือข้างหลัง main clause ก็ได้ ถ้าอยู่หน้า main clause จะมีเครื่องหมาย comma (,) คั่นไว้ เช่น When the chairperson comes in, we will start our meeting.ในที่นี้ Adverb clause คือ When the chairperson comes in ขยายคำกริยา will start ใน main clause สังเกตว่าเมื่อ Adverb clause อยู่ข้างหน้าเช่นนี้จะต้องมี comma คั่นระหว่างประโยคทั้งสอง
Adverb clause อาจแบ่งเป็น 10 ประเภทตามลักษณะของมันที่ไปขยาย แต่ในห้องเรียนจะเรียนแค่ Adverb of time นั่นก็คือคำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกเวลานั้นเอง ซึ่งได้แก่ clause ที่ไปทำหน้าที่ขยายกริยา เพื่อบอกให้ทราบว่า การกระทำนั้นได้กระทำเมื่อไร และลักษณะของ Adverb of time มักจะขึ้นต้นประโยคของมันด้วย subordinate conjunction ต่อไปนี้คือ
When เมื่อ, เวลาที่                                                               As เมื่อ, ในขณะที่
While เมื่อ, ในขณะที่                                                        Since ตั้งแต่
Before ก่อนที่                                                                      Till จนกระทั่ง
After หลังจาก, ภายหลัง                                                   Until จนกระทั่ง
Whenever ทุกครั้งที่, นานเท่าที่                                       As soon as ในทันทีที่
As long as ตราบเท่าที่, นานเท่าที่                                   So long as นานเท่าที่, ตราบเท่าที่
All the time ตลอดเวลาที่                                                  By the time ณ เวลาที่                                                 เช่น When he saw us, ha ran away.เมื่อเขาเห็นเรา เขาก็วิ่งหนีไป (When he saw us เป็น Adverb clause บอกเวลา มาทำหน้าที่ขยายกริยา ran เพื่อบอกให้ทราบว่าเขาวิ่งหนีไปเมื่อไหร่) I knew him well while I was in London. ผมรู้จักเขาดี เมื่อตอนที่ผมอยู่ลอนดอน (while I was in London เป็น Adverb clause บอกเวลาไปทำหน้าที่ขยายกริยา knew เพื่อบอกให้รู้ว่ารู้จักเขาเมื่อไหร่)
นอกจากนี้ adverb clause ยังสามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำประเภทต่างๆได้ดังนี้ คือ Present or Past Participial Phrase สามารถลดรูปได้โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) ลดรูปได้เมื่อประธานของ adverb clause และ main clause  เป็นตัวเดียวกัน 2) ใช้ present participial phrase (V-ing) ในกรณีที่ประธานเป็นผู้กระทำกริยา 3) ใช้ past participial phrase (V-ed) ในกรณีที่ประธานเป็นผู้ได้รับผลของการกระทำ ข้อสังเกต การลดรูป adverb clause of time  จะละหรือเก็บคำนำหน้า  when, while, before, after ก็ได้ ประโยคที่ใช้ Adverb of time ตัวอย่างเช่น When they were enjoying gambling, they were not aware of the approach of the police attack. เมื่อลดรูปได้จะเป็น When they were enjoying gambling, they were not aware of the approach of the police attack. ตัวอย่างที่ 2 While the worker was drilling the road, he happened to find a human skull.เมื่อลดรูปได้จะเป็น While the worker was drilling the road, he happened to find a human skull. ในกรณีที่เก็บคำนำหน้าไว้  สามารถที่จะนำ participial phrase ไปไว้หลัง main clause ได้  แต่ถ้าละคำนำหน้าจะทำไม่ได้ While drilling the road, the worker happened to find a human skull. The worker happened to find a human skull while drilling the road.




Learning Log 8 นอกห้องเรียน

Learning Log 8 นอกห้องเรียน

ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล นับว่าเป็นภาษาอีกภาษาหนึ่งที่คนไทยเป็นจำนวนมากคุ้นเคย ในปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มีโอกาส สัมผัสกับภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันจากสื่อต่างๆเช่น จากตำรา หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น และนับแต่อนุบาลจนกระทั่งจบการศึกษาคนไทยรู้จักภาษาอังกฤษอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างดีทีเดียว แต่ในปัจจุบันพบว่านักเรียนไทยส่วนใหญ่ยังมีข้อบกพร่องในการใช้ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการออกเสียงอาจเป็นเพราะได้เรียนรู้แต่กฎเกณฑ์ด้านไวยากรณ์และการเพิ่มพูนคำศัพท์แต่ไม่ได้รับการฝึกฝนการออกเสียงงภาษาอังกฤษได้ถูกต้องซึ่งการสื่อความหมายด้วยภาษาอังกฤษให้ได้ผลดีนั้นไม่ควรละเลยทักษะด้านการออกเสียงเพราะมันมีส่วนช่วยให้เราสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เสียงในภาษาอังกฤษหลายเสียงไม่มีในภาษาไทย จึงทำให้เกิดปัญหาสำหรับคนไทยเมื่อต้องออกเสียงนั้นๆ เช่น สียง /v/ ในคำ van ส่วนใหญ่คนไทยก็จะออกเสียงที่สะกดด้วยตัว ว ในภาษาไทยซึ่งไม่ถูกต้อง หรือแม้ว่าเสียงในภาษาอังกฤษบางเสียงจะมีในภาษาไทยแต่ตำแหน่งที่สียงนั้นปรากฏในคำก็จะต่างกัน เช่นเสียง /f/ ในภาษาอังกฤษเป็นได้ทั้งเสียง พยัญชนะต้น fan แล้เสียงพยัญชนะท้าย safe แต่ในภาษาไทยเสียงพยัญชนะที่สะกดด้วยตัวอักษร ฟ หรือ ฝ จะไม่ปรากฏในตำแหน่งท้ายคำ หรือเป็นเสียงพยัญชนะท้ายคนไทยส่วนใหญ่จึงออกเสียงพยัญชนะท้ายของคำ safe ไม่ถูกต้อง กล่าวคือจะออกสียงพยัญชนะท้ายเหมือนกับสะกดด้วย พ หรือ บ เป็นต้น
นอกจากนี้คนไทยบางคนก็ไม่ค่อยจะเข้มงวดกับการออกเสียงที่สะกดด้วย ร และ ล ถ้าหากจะมีคนพูดว่า ลูกของฉันถูกเพื่อนลังแก เลยไม่ชอบไปโลงเลียนแม้ว่าจะไม่ถูกต้องในแง่ของการออกเสียงตัว ร ในคำ รังแกและโลงเลียน แต่เรายังเข้าใจความหมายของประโยคนี้ เพราะในภาษาไทย ถึงจะมีคำ ลังและโลงแต่ก็ไม่มีคำ ลังแกและโลงเลียน แต่ในภาษาอังกฤษ ถ้าเราออกเสียง /l/ และ /r/ สับสนกัน เป็นว่า ออกเสียง /r/ เป็นเสียง /l/ แทนจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายของประโยคผิดไป เช่นถ้าผู้พูดต้องการพูดประโยค“Jane’s answer war wrong” แต่ไปพูดว่า “Jane’s answer was long” แทนที่ผู้ฟังจะเข้าใจว่า คำตอบของเจนผิดกลับไปเข้าใจว่า คำตอบของเจนยาว ดังนี้เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่คนไทยส่วนใหญ่มักประสบเมื่อพูดภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้การฟัง ยังเป็นการเรียนรู้ที่สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าจะ1นาที หรือ เป็นชั่วโมง การฝึกฟังที่ดีที่สุด คือการฟังข่าวภาษาอังกฤษ ซึ่งช่องทางการฟังมีหลายรูปแบบ เช่น ดูข่าวผ่านทีวี ,CNN,BBC หรือช่องทางอื่นๆหรือฟังข่าวออนไลน์ผ่านมือถือ การฟังข่าวนั้นนอกจากจะได้สำเนียงของเจ้าของภาษาแล้วยังได้ตำศัพท์ (Vocabulary) รูปแบบประโยคในภาษาอังกฤษ และการแปล (Translation) อีกด้วยซึ่งในวันนี้เราจะพูดถึงการเรียนรู้ศัพท์จากข่าว เป็นการให้เราได้ฝึกค้นหาความหมายของศัพท์ที่ใช้บ่อยๆในการรายงานข่าว เพื่อให้เราคุ้นเคยกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งที่ใช้กันโดยทั่วไปและใช้ในสาขาต่างๆเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานในการอ่านและการแปลข่าวต่อไปได้ ซึ่งตัวอย่างที่สืบค้นหาจะมีความหมาย ชนิดของคำ และการใช้คำศัพท์ในสถานการณ์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น
คำแรก abuse (n, v) หมายถึงใช้ในทางที่ผิด การงดการกระทำที่เสื่อมเสียในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในลักษณะใด เช่น  power abuse การใช้อำนาจในทางที่ผิด child abuse การกระทารุณเด็กด้วยการทำให้ทำงานหนักหรือการกักขังเฆี่ยนตีหรือด้วยการกระทำชำเราเด็ก drug abuse การใช้ยาที่ผิดวัตถุประสงค์เพื่อเจตนาที่ไม่ดีหรือการใช้ยาเป็นสารเสพติดนั่นเอง เมื่อใช้ทำหน้าที่คำกริยา (V.) จะแปลว่า ใช้ไปในทางที่ผิด เช่น She abuse my friendship.เธออาศัยมิตรภาพที่ฉันมีให้เธอเพื่ออหลอกใช้ฉัน
คำที่สอง activist (n.) หมายถึงนักเคลื่อนไว มักใช้กับผู้ที่เคลื่อนไหวทางการเมือง (political activist) เพื่อเรียกร้องสิ่งที่ต้องการหรือต่อต้านสิ่งที่ไม่เห็นด้วยซึ่งการเคลื่อนไหวนั้นอาจเป็นการเดินขบวน (demonstration) หรือการอดอาหารประท้วง (hunger strike) เช่น Activist marched through to protest construction of the fourth nuclear plant.
คำที่สาม autonomy มาจากรากศัพท์ภาษากรีก auto แปลว่า ตัวเอง,ตนเอง และ nomos ซึ่งแปลว่า กฎหมาย มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า self-rule โดยปกติจะใช้กับดินแดนซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐอื่นและต่อมาได้รับอิสรภาพคืน เช่นในกรณีที่อิสราเอลได้ยินยอมให้ชาวปาเลสไตน์ในเขตฉนวนกาซ่า (Gaza Strip) และเมือง Jericho ใน West Bank มีสิทธิในการปกครองตนเองอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่อิสราเอลได้ยึดปกครองดินแดนเหล่านี้มาเกือบ 27 ปี (Autonomy comes to Gaza Strip at last.)
คำที่สี่ bill (n.) หมายถึงร่างกฎหมายที่สมาชิกรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขอความเห็นชอบและประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้วนายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติขึ้นทูลเกล้าถวาย เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงปรมาภิไทยหลังจากได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกขา (The royal Gazette) แล้วร่างพระราชบัญญัติจะแปลสภาพเป็นพระราชบัญญัติ (act) และมีผลบังคับใช้ให้เป็นกฎหมาย (statute)
คำที่ห้า คือ blanket (n) รวม,อเนกประสงค์ โดยปกติแล้วจะแปลว่าผ้าห่ม แต่เมื่อขยายคำนามจะหมายความว่า รวม เช่น a blanket insurance policy จะแปลว่ากรมธรรม์คุ้มครองรวมซึ่งผู้ประกันชำระเงินประกันจำนวนเดียว แต่จะได้รับการคุ้มครองรวมหลายรายการในกรณีนี้ให้ blanket support ดับผู้ใดผู้หนึ่งนั้นจะหมายถึงการให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยไม่พิจารณาเดิมควรว่าเหมาะหรือไม่ เช่น Coalition MPs cannot blindly give blanket support to ministers facing a no confidence motion.
นอกจากนี้ การออกสียงในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่สำคัญมากถ้าหากเราออกเสียงผิดก็อาจทำให้การแปลความหมายนั้นผิดไปด้วย วันนี้เรามี 10 คำ ที่คนไทยออกเสียงผิดมากที่สุด (Asian Vegetables) มานำเสนอควบคู่กับ VCD ที่แนบมาในหนังสือ คำแรก Suite เวลาคุณไปพักโรงแรมคุณต้องการห้องหรูหราที่สุด คุณจะขอห้องสูตใช่ไหม ภาษาไทยอาจเรียกว่า สูต แต่ภาษาอังกฤษไม่เรียกอย่างนั้น ห้องชุดแบบนี้เรียกว่า Snite เหมือนคำว่า Sweet ออกเสียงเหมือนกัน ส่วนห้องสูตนั้น ฝรั่งจะนึกถึง Suit หรือเสื้อสูต
                คำที่สอง Excuse me ขอโทษครับ/คะ จะพูว่าอย่างไรลองนึกถึงตัว xป ตามมาด้วย q และก็ smee ตอนท้ายหรือ x+ q+ smee นี่แหละคือวิธีออกเสียง Excuse me คำที่สาม Asia ทวีปนี้ออกเสียงอย่างไร ภาษาไทยออกเสียงว่า เอเชีย แต่ฝรั่งออกเสียงไม่เหมือนกัน คำที่สี่ Juice น้ำผลไม้ เรียกว่าอย่างไรใครๆที่ตอบ จู-อีส เตรียมแพ๊คกระเป๋ากลับบ้าน เพราะที่ถูกคือ จูส หรือ จิว-ส คำที่ห้า six ห้ามออกเสียงว่า sick เพราะว่า sick หมายถึง ป่วยไม่สบาย หมายเลข 6 อ่านว่า six โดยมีเสียง s ในตอนท้าย
                คำที่หก Electricity ไฟฟ้า ไมใช่ electric-city ที่ถูกคือ Electricity หรือ อิ- เล็ก- ทริส- สิ- ที่ เป็นคำ adjective คือ electric หรือ อิ-เล็ค-ทริค คำที่เจ็ด busy ยุ่งไหมถ้ายุงก็บอกว่า I am busy คำนี้ออกเสียงว่า บิ-ซี่ แต่จริงๆแล้วตัว s ออกเสียงเป็น z busy เช่นเดียวกับ business ที่แปลว่าธุรกิจ business พยางค์ที่สองแทบจะหายไป  คำที่แปด Island คำนี้สะกดด้วย s แต่ไม่ออกเสียง เราจะพูดว่า ไอ- ลึน-ด ส่วน Iceland ก็เป็นประเทศหนาวๆประเทศหนึ่งในยุโรป
                ดังนั้นการออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ชัด จึงเป็นปัญหาให้กับเราโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะการสื่อสารที่นอกจากผู้อื่นจะไมเข้าใจที่เราพูดแล้วยังทำให้เรื่องเล็กๆกลายเป็นเรื่องใหญ่ๆได้เสมอ เพราะแปลความหมายที่ฟังมาผิด ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มาจากคนฟัง แต่เป็นคนพูดต่างหากที่พูดเพี้ยนไป ซึ่งเรามีวิธีแก้ง่ายนิดเดียวนั่นก็คือการอ่านคำศัพท์ควบคู่ไปกับการเปิดฟังคำศัพท์และฝึกออกเสียงทุกๆวันอย่างน้อยวันละครั้งก็จะช่วยให้เราสามารถออกเสียงภาษาอังกฤษได้ถูกต้องกว่าเก่าปัญหาเรื่องแปลความหมายผิดก็จะลดลงจนในที่สุดก็ไม่ผิดเลย



Learning Log 8 ในห้องเรียน

Learning Log 8 ในห้องเรียน

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าไวยากรณ์มีความสำคัญหลายประการ หากเปรียบไวยากรณ์เป็นเหมือนกระดุกสันหลังที่เป็นพื้นฐานช่วยให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษประสบความสำเร็จในการเรียนทั้งทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน โดยเฉพาะทักษะการเขียน ผู้เขียนจะต้องรู้จักเรียบเรียงประโยคให้เป็นข้อความที่สามารถสื่อสาร และทำให้ผู้อ่านเข้าใจในแนวคิดของผู้เขียน ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดความคิด ความรู้ของตนออกมาให้ผู้อ่านได้เข้าใจต้องอาศัยความรู้ความสามารถในด้านศัพท์ ไวยากรณ์ การสะกดคำ และเครื่องหมายวรรคตอน โดยเฉพาะความรู้ด้านไวยากรณ์เป็นสิ่งสำคัญมากและเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การเขียนมีความชัดเจนขึ้น เพื่อที่จะสามารถสื่อสารความคิดกับผู้อ่านและผู้ฟังได้
การเขียนโครงสร้างไวยากรณ์นั้น ถ้าได้รับการเสริมแรงจากทักษะการเขียนก็จะทำให้โครงสร้างไวยากรณ์มีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น และผู้เรียนจะได้มีโอกาสนำโครงสร้างต่างๆที่ตนเรียนมาเรียบเรียงเป็นประโยคของตนเอง ทำให้เกิดความภาคภูมิใจว่าตนเองก็สามารถใช้ภาอังกฤษได้ เช่น หลังจากการสอนเรื่อง Present Simple Tense แล้วครูผู้สอนก็ให้ผู้เรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนก็จะเป็นการเสริมแรให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับกริยาในรูปปัจจุบันกาลถ้าการเรียนการสอนเป็นไปตามนี้และทักษะการเขียนจะเป็นไปตามธรรมชาติและมีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้นและจะไม่รู้สึกหวาดกลัวหรือตื่นเต้นต่อการใช้ภาษาอังกฤษ เพราะถ้าพูดที่ว่าผู้เรียนประสบปัญหาเพราะขาดความแม่นยำในเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์ก็จะค่อยๆหมดไป
ไวยากรณ์ในห้องเรียนสัปดาห์นี้จะกล่าวถึงเรื่อง Noun Clause ซึ่งมีรูปประโยคมีประธานและภาคแสดง มีลักษณะเหมือนประโยคย่อย ที่ซ้อนอยู่ภายใน โดยใช้คำนำหน้าประโยคย่อยนี้เพื่อเชื่อมต่อกับประโยคใจความหลัก ทำหน้าที่เหมือนคำนามสามารถลดรูปได้และมีการใช้คำนำหน้า เราจึงควรเรียนรู้เพื่อให้สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
Noun Clause แปลว่า นามานุประโยค หมายความว่าประโยคนั้นทั้งประโยคถูกจำมาใช้เสมือนกับเป็นคำนามคำหนึ่ง และวิธีสังเกตว่า Clause ใด เป็น Noun Clause นั้นให้สังเกตได้ดังนี้คือ Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคของมันด้วย that ซึ่งแปลว่า ซึ่ง และ/หรือ Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคของมันด้วยคำที่แสดงคำนาม คือ how, which, what, where, when, why, who, whose, whom เช่น I don’t know how he did it. ผมไม่รู้ว่าเขาทำมันได้อย่างไร What you want is in the bag. สิ่งที่คุณต้องการอยู่ในถุงนี้แล้ว He said that he know you. เขาพูดว่า เขารู้จักคุณ ประโยคที่ขีดเส้นใต้นั้นเป็น Noun Clause ทั้งหมด
หน้าที่ของ Noun Clause เมื่อนำมาใช้อย่างนาม หรือเสมือนเป็นคำนาม ก็ย่อมทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับคำนามทั่วๆไปในทางไวยากรณ์นั่นคือ 1. เป็นประธาน (Subject) ของกริยาได้ เช่น a.  His statement is correct. b. What he said is correct. จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า What he said (สิ่งที่เขาพูด) ใน   ประโยค b เป็นประโยคย่อย คือมีภาคประธาน he และภาคแสดง said โดยซ้อนอยู่ในประโยคอีกประโยคหนึ่งและทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคนั้น เทียบได้กับกลุ่มคำนาม His statement (คำพูดของเขา) ซึ่งเป็นประธานของประโยค a  2.เป็นกรรม (Object) ของกริยาได้ เช่น I want to know where she lives. ผมอยากรู้ว่าหล่อนอยู่ที่ไหน (where she lives เป็นกรรมของกริยา know)  He promised that he would pay back the debt. เขาให้สัญญาว่าเขาจะใช้หนี้คืนให้ (that he would pay back the debt เป็นกรรมของกริยา promised) 3.เป็นกรรม (Object) ของบุพบท (Prepositions) ได้ เช่น Wanna laughed at what you said. วรรณาหัวเราะเยาะสิ่งที่คุณพูด (what you said เป็นกรรมของ at )  She is waiting for what she want. หล่อนกำลังรอคอยสิ่งที่หล่อนต้องการ (what she want เป็นกรรมของ for) 4. เป็นส่วนสมบูรณ์ ( Complement) ของกริยาได้ เช่น It seems that it is possible. ดูเหมือนว่า มันเป็นไปไม่ได้ (that it is possible เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา seems) This is what you want. นี่คือสิ่งที่คุณต้องการ ( what you want เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา is) 5. เป็นคำซ้อนของนามตัวอื่นได้ (Appositive) เช่น His belief that coffee will keep him alert is incorrect. ความเชื่อของเขาที่ว่า กาแฟจะทำให้เขาตื่นอยู่เสมอนั้นไม่ถูกต้อง (that coffee will keep him alert เป็นคำซ้อนของ  belief )
คำนำหน้า Noun Clause มีคำที่ใช้นำหน้าเพื่อเชื่อมกับ main clause คำที่ใช้นำหน้าดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1. that นำหน้า Noun clause ที่เป็นประโยคทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่าหรือ ประโยคปฏิเสธ เช่น That he will come is certain.  การที่เขาจะมาเป็นสิ่งแน่นอน คำว่า  that มีความหมายว่า  “การที่”  ในกรณีที่ noun clause เป็นประธานของคำกริยาใน main clause และ that มีความหมายว่า ว่าในกรณีที่ noun clause เป็นกรรม  ดังในตัวอย่างข้างต้น อนึ่ง noun clause  ที่นำหน้าด้วย that  มีโครงสร้างของประโยคครบถ้วน การนำ that ไปวาง ข้างหน้า noun clause  เป็นเพียงการเชื่อม noun clause  กับ main clause
การละ that (commission of that) ในประโยค Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย that นั้นถ้าเป็นภาษาธรรมดา (Informal) โดยเฉพาะภาษาพูดแล้วเราจะละ that เสมอ เช่น He says coffee grows in Brazil. (=He says that coffee grows in Brazil. ) เขาพูดว่ากาแฟปลูกในประเทศบราซิล I know he'll return soon.(=I know that he'll return soon.) ผมรู้ว่าเขาจะกลับมาเร็วๆนี้
2. Noun Clause ที่นำหน้าด้วย Wh-words จะมีหน้าที่บางประการใน Noun Clause ดังนี้ who,whoever, whom,whomever ทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน Noun Clause เช่น I want to know who he has chosen to marry. Whose คำนามที่ตามหลัง whose ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม กรรมตามหลังบุพบท และส่วนเสริมประธาน ใน noun clause เช่น I asked whose money was stolen. What, whatever ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรมและส่วนเสริมประธานใน noun clause เช่น I want to know what her name is. Which, whichever มักมีคำนามตามหลังโดยทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน noun clause เช่น I don’t know which brand is worth buying. Where, When, Why, How ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ใน Noun clause โดย where, wherever ใช้บอกสถานที่ เช่น Where he will stay has yet to be decided. ส่วนWhen, whenever  ใช้บอกเวลา เช่น You must find out when he is due to arrive at the airport.  Why ใช้บอกสาเหตุหรือเหตุผล เช่น Why he went to China was not known.  How  ใช้บอกกิริยาอาการ เช่น Describe how you felt at that time.


Learning Log 7 นอกห้องเรียน

Learning Log 7 นอกห้องเรียน

การฝึกภาษาอังกฤษในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในตำราเรียน ห้องเรียน แต่เราสามารถเรียนรู้ได้จากทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวอย่างอิสระ กระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหมเพราะการหักโหมก็เปรียบเสมือนการทำร้ายตนเอง ลองคิดดูว่า ขนาดภาษาไทยรายังสามารถอ่านออกเขียนได้ก็ต้องใช้เวลาท่องจำจาก ก-ฮ ดังนั้นการเรียนภาษาอังกฤษภายใต้สภาวะแวดล้อมรอบข้างที่ไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษเลย เราก็ยิ่งต้องเพิ่มความพยายามโดยหมั่นฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ฝึกวันละนิดแต่สม่ำเสมอไม่ว่าเราจะฝึกด้วยตัวเองหรือไปเรียนภาษาแบบเสียเงิน แน่นอนว่าหากเราไม่มีความตั้งในอย่างแท้จริงมันก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไรกับเราเลย และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฝึกทักษะภาษาอังกฤษ นั่นก็คือ ฝึกภาษาอังกฤษผ่านบทเพลง Close to you ของ ศิลปิน Carpenter ซึ่งเป็นศิลปินที่ตายไปแล้ว
จากการฟังเพลง Close to you มีคำที่น่าสนใจก็คือ "long" เมื่อเป็นคำกริยา จะไม่แปลว่า ยาว แต่แปลว่า ปารถนา เช่น I long to travel in Europe. ฉันปารถนา นอกจากนี้การอ่านเนื้อเพลง อ่านคำแปลเพื่อจะได้เข้าใจความหมายของเพลงและได้ฟังศัพท์อีกด้วย จากนั้นก็ฝึกร้องตาม ออกเสียงตาม จนกระทั่งเกิดการจำเนื้อเพลงได้เอง ซึ่งเมื่อจำเนื้อเพลงได้เราจะนึกความหมายออก ซึ่งเราจะจำคำศัพท์ได้โดยไม่ต้องท่อง ได้ทั้งคำศัพท์และทักษะการฟังไปพร้อมๆกัน ทุกอย่างจะซึมซับเข้าสมองเราจะจดจำเป็นระยะยาวเพียงเท่านี้ทักษะการฟังของเราจะดีขึ้นเอง เพียงแค่เราตั้งใจและหมั่นฝึกฝนอยู่สม่ำเสมอ เพียงเท่านี้การฟังภาษาอังกฤษก็ไม่ยากสำหรับเราอีกต่อไป
และแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เราอยู่กับภาษาอังกฤษ ทุกวันทุกเวลา คือ การฝึกภาษาอังกฤษผ่ามทเพลง ผ่านหนังสือ ผ่านวีดีโอ หรือสื่อมัลติมีเดีย โดยเฉพาะการฟังเพลงจะช่วยในการฝึกทักษะได้เป็นอย่างมากและหากเราฟังเพลงสากลทุกวัน แล้วอ่านเนื้อเพลง อ่านความหมาย เราก็จะมีทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ได้ทั้งคำศัพท์ สำเนียงการพูดและการแปลบทเพลงได้อย่างอัตโนมัติ และเป็นการเรียนรู้ที่สนุกไม่น่าเบื่ออีกต่างหาก และยังเป็นวิธีการฝึกทักษะที่ได้ผลเกินคาดแน่นอน เพียงแค่เรามีความอดทนและตั้งใจฝึกฟังบ่อยๆ

ดังนั้นการฝึกฟังเพลงสากลควรเริ่มฟังบ่อยๆ เน้นฟังสำเนียงที่ถูกต้องฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะทักษะการฟังไม่สามารถพัฒนาขึ้นในชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนฟังซ้ำๆอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ฟังครั้งหนึ่งไม่กี่นาทีแต่เน้นการฝึกบ่อยๆจะได้ผลดีกว่าการฟังครั้งหนึ่งเป็นชั่วโมงแต่ฝึกแค่สัปดาห์ละครั้งและถ้ารู้สึกว่าทักษะเริ่มพัฒนาแล้ว ระหว่างการฝึกเราอาจออกเสียงร้องเพลงควบคู่ไปด้วยก็ได้ การร้องเพลงตามจะทำให้เราโฟกัสกับสิ่งที่ฟังมากขึ้น และเป็นการเช็คว่าสิ่งที่เราได้ยินนั้นถูกต้องหรือไม่ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 7 ในห้องเรียน

Learning Log 7 ในห้องเรียน

การเรียนการสอนของภาษาล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถใช้ภาษาที่เรียนในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นที่ใช้ภาษานั้นได้ ซึ่งในการเรียนการสอนภาษา เชื่อว่า การที่จะให้ผู้เรียนมีความสารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน และสื่อสารได้ จำเป็นต้องให้ผุ้เรียนมีความรู้ในเรื่องกฎเกณฑ์โครงสร้างของภาษา เพราะถ้าผู้เขียนมีความรู้เรื่องโครงสร้างทางภาษาแล้วสามารถใช้ความรู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการสื่อสารได้ แต่ในปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าความรู้ในโครงสร้างภาษาแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถก่อให้เกิดความสามารถในการสื่อสารได้ทั้งนี้เพราะความสามารถในการสื่อสารนั้นรวมถึงความสามารถในการใช้ภาษาให้ถูกต้องและเหมาะสมเมื่อการสอนเน้นไปในด้านการใช้ภาษาจึงทำให้มีผู้เข้าใจว่าผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ไวยากรณ์ของภาษาอีกต่อไปซึ่งความเข้าใจเช่นนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดเพราะโครงสร้างทางไวยากรณ์นั้นมีส่วนทำให้สามารถใช้ภาษได้อย่างมีประสิทธิภาพการเรียนการสอนไวยากรณ์จึงมีความจำเป็น ในสัปดาห์นี้เราได้เรียนรู้ในห้องเรียนเรื่อง If-Clause ซึ่งมี 3 ประเภท
Conditional Sentence หรือเรียกอีกอย่างว่า If-Clause คือ ประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข (Condition) หรือแสดงการสมมุติ หรือการคาดการณ์ว่าถ้ามีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นแล้วก็จะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นตามมา ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยครวมกัน และเชื่อมด้วย Conjunction ‘if’ ประโยคนำหน้าด้วย if แสดงเงื่อนไข เราเรียกว่า If-clause และประโยคที่แสดงผลของเงื่อนไขนั้น เราเรียกว่า Main-Clause เช่น If it rains, I shall stay at home. (ประโยคแรกนำหน้าด้วย if เป็นประโยค if-clause ส่วนประโยคหลังแสดงผลของเงื่อนไขแรก เป็น Main-Clause) Conditional Sentence แบ่งออกเป็น 3 ประโยคใหญ่ๆคือ Present Real, Past Unreal, Present Unreal ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
แบบแรก Present Real เป็นการสมมุติถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต แสดงเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้ (probable condition) หมายความว่าถ้ามีการกระทำหรืออเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว เหตุการณ์เช่นนั้นก็จะเกอดขึ้นตามหลังมาทันที มีโครงสร้างคือ If + Present simple + Future Simple เช่น If he goes to London, he will meet his old friend. If it rains, I will not go shopping.
แบบที่สอง Present Unreal เป็นการสมมุติในปัจจุบันที่บอกความสงสัย (doubt) แสดงเงื่อนไขที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ (improbable condition) หมายถึงเงื่อนไขที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้หรือไม่อาจเป็นไปได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เป็นเรื่องที่ผู้พูดสมมุติหรือตั้งเงื่อนไขลมๆแล้งๆขึ้นมา เช่น พูดว่า ถ้าฉันเป็นนกฉันจะบินได้หรือ ถ้าฉันมีตาทิพย์ ฉันจะบอกเลขท้าย 2 ตัวให้เธอทุกงวด ทำนองนี้ เราเรียกว่า เป็นเงื่อนไขหรือการสมมุติในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ โครงสร้างคือ If+ Present Simple+ V1 เช่น If I had enough money, I would marry my girlfriend, but right now ,I am very poor. If today were Sunday, We would be at home.
แบบที่สาม Past Unreal เป็นการสมมุติ แสดงเงื่อนไขที่ไม่อาจเป็นไปได้เลยและตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในอดีต การสมมุติในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตและผู้พูดก็ทราบดีว่าเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร แต่ผู้พูดก็นำมาพุดสมมุติเสียใหม่คือ สมมุติให้ตรงกันข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เช่น ข้อความว่า ถ้าคุณไม่ได้ฆ่าน้องชายเขา คุณก็คงไม่ติดคุกซึ่งความจริงที่เกิดขึ้นคือ คุณได้ฆ่าน้องชายของเขา ดังนั้นคุณจึงต้องติคุก ลักษณะเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งความจริงที่เกิดขึ้น คือคุณได้ฆ่าน้องชายของเขา ดังนั้นคุณจึงต้องติดคุก ลักษณะเหตุการณ์ดังกล่าว เรียกว่า การสมมุติหรือเงื่อนไข ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น มีโครงสร้าง คือ If+ Past Perfect+ would+ Present Perfect (-ed) เช่น If I had known of your arrival, I should have met you. (but I didn’t know, so I didn’t meet you.) ใน Conditional Sentence จะขึ้นต้นด้วยประโยค If-Clause
จะเห็นได้ว่าการศึกษาโครงสร้างของไวยากรณ์มีความสำคัญ ซึ่งมีส่วนช่วยในการเป็นฐานความรู้เพื่อใช่ต่อยอดการพูดภาษาอังกฤษต่อไปได้ ซึ่งการศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์ในบางเรื่องอาจมีความซับซ้อน แต่ถ้าหากเราตั้งใจอ่านและทำความเข้าใจ มันก็ไม่มีอะไรยากสำหรับเราเลย การเรียนเรื่อง If- Clause ในวันนี้ทำให้เรามีความรู้และเข้าใจในโครงสร้างของ If-clause ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง และหมายถึงอะไร นอกจากนี้ยังได้ทำความเข้าใจกับประโยค If-Clause แต่ละแบบ ทำให้เราเห็นภาพมากขึ้นว่าควรใช้รูปแบบประโยคแบบไหนและต้องใช่ในสถานการณ์ใด


Learning Log 6 นอกห้องเรียน

Learning Log 6 นอกห้องเรียน

"ทำอย่างไรให้ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่อง" หรือ "ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้คล่องและ ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้เก่งเป็นคำพูดที่คนส่วนใหญ่พูดกันทั้งๆที่เรียนภาษาอังกฤษกันมาแล้วหลายปี ยิ่งไปกว่านั้นหลายคนยังต้องเสาะหาที่เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมจากที่ต้องเรียนในโรงเรียน และบางคนผ่านการเรียนภาษาอังกฤษจากสถาบันสอนภาษาอังกฤษมาแล้วหลายสถาบัน แต่ก็ยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ซักที บางคนสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ดี เข้าใจดี หรือ บางคนทำคะแนนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้ดี แต่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ เพราะอะไร สาเหตุที่สำคัญคือ ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เราต้องพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษก่อน และวิธีการฟังให้ได้ผลดีคือเราต้องฟังประโยคซ้ำๆ หลายๆรอบจนขึ้นใจแล้วพูดตาม ออกเสียงให้เหมือนที่สุด อาจไม่เข้าใจความหมายหรือคำแปลไม่เป็นไรขอให้พูดภาษาอังกฤษออกมาให้ได้ก่อน
เมื่อเราพูดประโยคภาษาอังกฤษเหล่านั้นออกมาได้แล้ว เราก็หลุดออกจากกับดักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้แล้ว นั่นแปลว่าเราได้เข้าสู่วงจรของการที่จะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างอัตโนมัติแล้วหลังจากนั้นจึงค่อยมาศึกษาคำแปลของประโยคเหล่านั้น และเพิ่มประโยคภาษาอังกฤษให้มีสะสมในสมองมากขึ้น ลำดับต่อไปจึงฝึกพูดประโยคภาษาอังกฤษเหล่านั้นให้เร็วขึ้น เราก็จะสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบอัตโนมัติจากจิตใต้สำนึกโดยไม่ติดขัดอีกแล้วแล้วจึงมาฝึกหรือแก้ไขคำที่เรามักจะออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ถูกต้อง ไม่ชัด ให้พูดได้ชัดเจนขึ้น ตรงนี้อาจต้องอาศัยครูสอนภาษาอังกฤษ หรือเพื่อนชาวต่างชาติเพื่อให้เรียนได้เร็วและมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น
เราลองมาเปรียบเทียบดูว่า ภาษาไทยที่เราพูด, อ่าน และเขียนได้ในปัจจุบันล่ะ มีพื้นฐานมาจากอะไร ?? หากไม่ใช่มาจากการฟัง ฟังจนเข้าใจในสิ่งที่เราได้รับฟังมา แล้วเลียนเสียงนั้น (คือการพูดตาม) จนพูดได้ หลังจากนั้น จึงเริ่มเรียนการอ่าน แล้วจึงตามมาด้วยการเขียนเช่นเดียวกัน หากเราได้ฟังภาษาอังกฤษ หลายๆรอบ บ่อยๆ ซ้ำๆจนจำขึ้นใจแล้ว เราจะพบว่าเราสามารถฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องและเข้าใจโดยอัตโนมัติ นอกจากนั้นยังสามารถ พูดภาษาอังกฤษได้อีกด้วย วิธีการฝึก ฟังภาษาอังกฤษ ให้ได้ผลเร็ว มีเทคนิค ดังนี้
1. ฝึกฟังจากเทป บทสนทนาภาษาอังกฤษ ซึ่งบทสนทนานั้นจะต้องพูดด้วยความเร็วปกติที่ชาวต่างชาติพูด อย่าฝึกฟังจากเทปที่พูดช้ากว่าการพูดปกติของเขา เนื่องจากจะทำให้เราเคยชินกับการฟังภาษาอังกฤษ แบบที่พูดช้าๆ และเมื่อเจอชาวต่างชาติที่พูดด้วยอัตราความเร็วปกติ เราก็ไม่เข้าใจเช่นเดิม
2. การฝึกฟังครั้งแรกๆ ควรเริ่มฟัง ครั้งละ 5 - 10 ประโยค (อย่าฟังประโยคเยอะเกินไปจนไม่สามารถจะจำประโยคเหล่านั้นได้)
3. ขณะที่ฝึก ฟังภาษาอังกฤษ ต้องมี Script เสมอ
4. ในการฝึกฟังแต่ละครั้ง ต้องฟังให้ได้อย่างน้อย 4 รอบ คือ
- รอบที่ 1 ฟังพร้อม Script และหากเห็นว่าคำใดที่เราเคยออกเสียงไม่เหมือนเขา หรือ
เราฟังไม่รู้เรื่องแม้จะมี Script ให้หยุดเทป แล้วจดลงในScript ว่า เสียงที่เราได้ยิน
นั้นคืออะไร
- รอบที่ 2 และ 3 ออกเสียงตาม
- รอบที่ 4, 5, 6, ..... ลองฟังแบบหลับตา โดยไม่มี Script
5. ช่วงแรก ขอให้ฝึกฟังประโยคเดิมๆ ด้วยวิธีข้างต้น สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง (ฝึกทุกวันได้ยิ่ง
ดี) แล้วจึงค่อยๆเพิ่มจำนวนประโยคให้มากขึ้นเป็น 15-20 ประโยค ต่อการฝึกฟังแต่ละครั้ง หากทำวิธีดังกล่าวข้างต้นอย่างสม่ำเสมอ เพียงเดือนเดียว รับรองว่านอกจากจะ ฟังภาษาอังกฤษ รู้เรื่องแล้ว ยังสามารถ พูดภาษาอังกฤษ ได้โดยไม่รู้ตัวอีกด้วย

จากการศึกษาเทคนิควิธี การฟัง ภาษาอังกฤษให้ได้ผลนั้น เราควรฝึกฟังให้มากๆและฟังซ้ำๆ เพรานอกจากจะทำให้การฟังของเราดีขึ้นแล้วยังช่วยให้เราพูดภาอังกฤษได้อีก ซึ่งเทคนิควิธีในการฟังให้ได้ผลนั้นแรกๆ ควรฝึกระดับประโยคก่อน ประมาณ 5-10 ประโยคฝึกฟังและพูดซ้ำไปซ้ำมา เมื่อคล่องแล้วก็เพิ่มจาก 10 คำ เป็น 15 หรือ 20 คำ ข้อสำคัญในการฝึกก็ควรดูสคริปไปด้วยเพื่อดูว่าการฝึกครั้งแรกเราฟังคำศัพท์ผิดหรือไม่ แต่พอฟังจนชำนาญแล้วก็ไม่ต้องดูสคริปอีก และหากเราสามารถทำวิธีดังกล่าวได้ และฝึกการฟังอย่างสม่ำเสมอ เราก็จะสามารถฟังภาษาอังกฤษได้ และยังสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ด้วย