วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning Log 4 นอกห้องเรียน


Learning Log 4 นอกห้องเรียน

                การเรียนรู้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนมีความจำเป็นมากที่สุดต่อการพัฒนาความรู้ทักษะภาษาอังกฤษ ซึ่งการฟัง พูด อ่าน เขียน นอกชั้นเรียนตามความสนใจของผู้เรียนโดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น Google, YouTube, BBC Learning, Social Network เป็นต้น จะเป็นตัวช่วยในการฝึกทักษะภาษาอังกฤษทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน เพราการเรียนรู้ฝึกฝนด้วยตนเองนอกชั้นเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้การเรียนรู้นอกห้องเรียนยังเป็นการทบทวนและฝึกฝนทักษะภาษา ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ภาษานั้นได้ผลยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งที่ฉันได้ไปศึกษานอกห้องเรียนจากเว็บเพจเฟสบุ้ค English Today( เรียนภาษาอังกฤษวันละคำ) เป็นเรื่องของ Grammar ในประโยค I’m looking forward to seeing you.
                ในประโยค I’m looking forward to seeing you. หลาย ๆ คนคงเคยสงสัยว่า ทำไมต้องเติม ing ที่ see บ้างก็เคยท่องกันมาว่า หลังสำนวน look forward to ต้องตามด้วย v.ing จริง ๆ แล้ว มันมาจากกฎที่ว่า หลัง preposition (บุพบท) ต้องเป็นคำนาม หรือคำอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายคำนาม เช่น Gerund (v.ing), noun phrase,  noun clause, pronoun ในที่นี้ to เป็น preposition I’m looking forward to จึงสามารถตามด้วยหลายอย่าง เช่น คำนาม เช่น I’m looking forward to your new book. (ผมรอหนังสือเล่มใหม่ของคุณอยู่นะครับ) Gerund เช่น I’m looking forward to seeing you. (ผมตั้งหน้าตั้งตารอที่จะเจอคุณอยู่นะครับ) Noun Clause เช่น I’m looking forward to what you are going to present. (ผมตั้งหน้าตั้งตารอสิ่งที่คุณจะนำเสนออยู่นะครับ)
                นอกจากนี้ยังได้ฟังวิทยุจากเว็บ BBC News จากอินเตอร์เน็ต เป็นการฟังข่าวภาษาอังกฤษ ซึ่งเราจะได้เรียนรู้สำนวนข่าว การเน้นเสียงและการพูดออกเสียงอย่างชัดเจนแทบทุกถ้อยคำของผู้ประกาศข่าวซึ่งอาจมีความแตกต่างจากการฟังภาพยนตร์ ตอนแรกๆเราอาจฟังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็อย่างพึ่งถอดใจเราต้องพยายามฟังให้บ่อยๆ หากมีเวลาพยายามตั้งใจฟังแลพยายามจับให้ได้ว่าเขากลังรายงานข่าวเรื่องอะไรอยู่ เพื่อให้คุ้นชินกับสำเนียง ท่วงทำนอง ระดับสูงต่ำของภาษาไปได้ในตัว แลไม่นานเราก็จะสามารถจับคำพูดที่เราฟังได้โดยไม่ต้องพยายามฟังหลายๆรอบ ซึ่งจะเป็นการเสียเวลาด้วย




วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning Log 4 ในห้องเรียน

Learning Log 4 ในห้องเรียน

เราเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมเวลาเรียนภาษาอังกฤษ จึงต้อเรียนไวยากรณ์ควบคู่กันไปด้วย เพราะการที่จะให้ผู้เรียนสามารถพูดและอ่านภาษาอังกฤษ จึงต้องเรียนไวยากรณ์ควบคู่กันไปด้วยเพราะการที่จะให้ผู้เรียนพูดและฟังภาษาอังกฤษได้นั้นจะต้องให้ผู้เรียนมีความรู้ในเรื่องกฎเกณฑ์โครงสร้างของภาษาเสียก่อนจึงจะใช้ความรู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการสื่อสารได้ แต่ในปัจจุบัน ความรู้ในโครงสร้างทางภาษาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เกิดความสามารถในการสื่อสารได้ ทั้งนี้เพราะความสามารถในการสื่อสารนั้นรวมถึงความสามารถในการใช้ภาษาให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย ซึ่งการเข้าใจว่าผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ไวยากรณ์อีกต่อไป การเข้าใจเช่นนี้เป้นความเข้าใจที่ผิดเพราโครงสร้างทาไวยากรณ์มีส่วนทำให้สามารถใช้ภาษาได้อย่ามีประสิทธิภาพ การเรียนการสอนไวยากรณ์ของภาษาก็ยังมีความจำเป็นอยู่จากการเรียนรู้ในห้องเรียนโดยการศึกษาประโยค Simple sentences Compound sentences Complex sentences Compound - Complex sentences Adjective clause และศึกษาการทำ Adjective clause ให้เป็น Adjective phrase พบว่า
Sentence แปลว่าประโยคได้แก่กลุ่มคำหรือข้อความที่พูดออกไปแล้วได้ใจความสมบูรณ์ฟังกันรู้เรื่อง และส่วนมากประโยคจะประกอบไปด้วยส่วนใหญ่ 2 ส่วนคือ ภาคประธาน (Subject) และภาคแสดง (Predicate) เช่น He worked. My sister cleaned the table เป็นต้น ข้อความหรือกลุ่มคำทั้งหมดที่ยกแสดงขึ้นให้ดูนี้ถือได้ว่าเป็นประโยค (Sentence) ได้เพราะแต่ละข้อความทีพูดหรือเขียนออกไปแล้ว ผู้ฟังจะเข้าใจได้ทันที ประโยคอาจมีแต่คำกริยาคำเดียวก็ได้ ถ้าสามารถเข้าใจกันดีระหว่าผู้พูดและผู้ฟังโกยเฉพาะอย่างยิ่งประโยคคำสั่งก็มักจะมีแต่คำกริยาเท่านั้น เช่น shoot, go, come on, look out เป็นต้น ประโยคในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ Simple sentences ประโยคใจความเดียว Compound sentences ประโยคใจความรวม Complex sentences ประโยคใจความซ้อน และ Compound - Complex sentences ประโยคใจความผสม ซึ่งแต่ละประโยคจะมีรายละเอียดดังต่อนี้
Simple sentence แปลว่า เอกัตถประโยค หมายถึง กลุ่มคำหรือข้อความที่พูดออกไปแล้วมีใจความเดียว พูดง่าย ก็คือ มีประธานตัวเดียวและกริยาตัวเดียว เช่น My son does his exercises every day.ลูกชายของผมทำแบบฝึกหัดทุกวัน นอกจากนี้ Simple sentence ยังแบ่งออกเป็นประโยคย่อยได้อีก 5 รูป ดังนี้คือ ประโยคบอกเล่า เช่น I live in Chiengmai. ผมอยู่เชียใหม่  ประโยคปฏิเสธ เช่น I don’t live in Bangkok. ผมไม่ได้อยู่กรุเทพฯ ประโยคคำถาม เช่น Were you born in Bangkok.คุณเกิดที่กรุงเทพฯหรือไม่ ประโยคขอร้อง เช่น Please open the window. กรุราเปิดหน้าต่างหน่อย และประโยคอุทาน เช่น There goes the bus! รถเมล์ไปที่นั่นแล้ว
Compound sentences แปลว่า อเนกัตถประโยค หมายถึง ประโยคที่มี simple sentence 2 ประโยคมารวมเข้าด้วยกัน ทั้งนี้โดยเชื่อมด้วย coordinator (ตัวประสาน) เป็นแกนนำอันสำคัญ เช่น He is poor. เขายากจน He is honest.เขาซื่อสัตย์ เป็น Simple sentence He is poor ,but he is honest.เขายากจนแต่เขาซื่อสัตย์ ดังนั้นสิ่งที่เราทราบก็คือว่าตัวประสานที่มาเชื่อมต่อเพื่อให้เป็น Compound sentences ได้แก่ เครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้เชื่อม Simple sentence เพื่อให้เป็น Compound sentences มีดังต่อไปนี้คือ Semi-colon ; Colon : Dash – Comma ,
Complex sentences แปลว่า สังกรประโยค หรือประโยคที่มีเนื้อความซ้อน หมายถึงประโยคใหญ่ที่ประกอบขึ้นมาจากประโยคเล็ก 2 ประโยคซึ่งใน 2 ประโยคนี้ใจความสำคัญไม่เท่ากัน นั่นคือ ประโยคหนึ่งเรียกว่า main clause (ประโยคหลัก) ส่วนอีกประโยคหนึ่งเรียกว่า subordinate clause (ประโยคอาศัย) เป็นประโยคที่ต้องการอาศัยประโยคหลักเสียก่อนแล้วจึงจะได้เนื้อความสมบูรณ์หากแยกกันอย่านทีละประโยค ประโยค main clause จะอ่านได้เนื้อความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง ส่วนประโยค subordinate clause จะอ่านไม่ได้ความหมายเลย ตัวอย่างเช่น This is the house that Jack bought last year. นี่คือบ้านของแจ๊คที่ได้ซื้อเอาไว้เมื่อปีที่แล้ว
ข้อความนี้แยกออกได้เป็น 2 ประโยคคือ This is the house เป็นประโยค main clause ส่วน that Jack bought last year เป็น subordinate clause จะเห็นได้ว่าเมื่อประโยคเล็ก (Simple sentence) 2 ประโยคมารวมอยู่ด้วยกัน จึงทำให้ประโยคที่กล่าวมานี้กลายเป็น Complex sentences ขึ้นมาทันที สิ่งที่เราควรคิดต่อไปก็คือว่า ประโยคเล็ก 2 ประโยค ที่มารวมกันแล้วกลายเป็น Complex sentences นั้นใช้อะไรเป็นคำเชื่อมระหว่างประโยค main clause กับ subordinate clause คือใช้คำเชื่อมหรือคำแฝง subordinate conjunction ได้แก่ if, as if, since, because, that, whether, lest, as, before, after, while, till, until, though, although, unless, so that, than, provide, in order that, etc. เช่น He is unhappy because he is very poor. เขาไม่มีความสุข เพราะว่าเขายากจนมาก ต่อไปคือการใช้ประพันสรรพนาม (Relative pronoun) เป็นคำเชื่อมได้แก่คำต่อไปนี้คือ who, whom, which ,that, whose, which, as, but, that of which, where, why, wherever, how
Compound - Complex sentences แปลว่า อเนกัตถสักรประโยค หมายถึงประโยคใหญ่ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมาอยู่รวมกันโดยที่ประโยคใหญ่ท่อนหนึ่งนั้นจะมีประโยคเล็กซ้อนอยู่ภายใน ลุกษณะข้อความเช่นนี้เราเรียกว่า Compound - Complex sentences เช่น I saw no one in the house which you had told me about, so I didn’t go in. ผมไม่เห็นใครอยู่ในบ้านซึ่งคุณได้บอกให้ผมทราบนั้นเลย ดังนั้นผมจึงไม่เข้าไปข้างใน (ประโยคที่ยกกล่าวให้ดูนี้มีประโยคใหญ่ๆ อยู่ 2 ประโยค คือ ประโยคแรก ได้แก่  I saw no one in the house which you had told me about และประโยคที่สอง so I didn’t go in ประโยคใหญ่ท่อนแรกมีประโยคเล็กซ้อนอยู่ภายใน คือ which you had told me about )
Adjective clause แปลว่า คุณานุประโยค หมายความว่า ประโยคนั้นทั้งประโยคไปทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายนามหรือขยายคำเสมอนามได้เช่นเดียวกับ Adjective ธรรมดา แต่การขายาด้วย Adjective clause จะทำให้ข้อความนั้นหนักแน่นและเด่นชัดขึ้นมากกว่าการใช้ Adjective ธรรมดา ลักษณะของประโยค Adjective clause จะนำหน้าด้วยคำเชื่อมสัมพันธ์ (Relative pronoun) ได้แก่คำเหล่านี้ who, whom, which, that, whose, which, as, but, that of which, wherever, how อีกอย่างคือสัมพันธ์วิเศษ (Relative adverb) ได้แก่ when, where, why
การลดรูป Adjective clause ให้เป็น Adjective phrase ซึ่ง Adjective clause ที่มีประธาน เช่น  that,  which, who สามารถย่อรูปให้เป็นวลีได้สองวิธีคือ 1. ตัด Relative pronoun ออกไป 2.เปลี่ยนกริยาที่อยู่ติดกับ Relative pronoun ให้เป็น V-ing ในกรณีที่คำนามนั้นทำกริยาได้ หรือเปลี่ยนเป็น V3 ถ้าคำนามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ
จากกรณีศึกษาประโยค Simple sentences, Compound sentences, Complex sentences Compound - Complex sentences, Adjective clause และศึกษาการทำ Adjective clause ให้เป็น Adjective phrase ทำให้เราได้รู้ความหมายและลักษณะของประโยคแต่ละประโยคว่ามีดารเพิ่มหรือลดรูปอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้วด้วย จะเห็นได้ว่าไวยากรณ์มีความสำคัญในการเรียนถ้าเรามีความชำนาญในกฎเกณฑ์ไวยากรณ์เราก็สามารถนำความรู้ที่มีไปบูรณาการความรู้ในด้านทักษะการพูดต่อไปได้
 

 

Learning Log 3 นอกห้องเรียน

Learning Log 3 นอกห้องเรียน

                การเรียนรู้สามารถเกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา เนื่องจากองค์ความรู้ต่างๆนั้นมีอยู่รอบตัวเรา การเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นการเปิดอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในห้องเรียนอันกว้างใหญ่ผ่านประสบการณ์ตรงจากการศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆซึ่งเปรียบเสมือนโจทย์ฝึกทักษะสำคัญของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นทักษะการอ่าน พูด ฟัง เขียน ล้วนเป็นการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้งสิ้น ในภาษาอังกฤษการแปลนับว่ามีความสำคัญระดับหนึ่งเพราะจำเป็นต้องถ่ายทอดจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งสิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากนอกห้องเรียนนั่นก็คือ การแปลหนังสือนวนิยายเรื่อง The wizard of OZ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจำนวน 1 บท ซึ่งมีเนื้อเรื่องย่อคร่าวๆดังนี้
                The wizard of OZ เป็นเรื่องราวการผจญภัยของสาวน้อยโดโรธีและหาของโดโรธี มีชื่อว่าโตโต้ โดโรธีอาศัยอยู่กับลุงเฮนรี่และป้าเอ็มที่แคนซํส หลังจากนั้นได้เกิดพายุพัดกระหน่ำ พายุได้พัดเอาโดโรธีและโตโต้มายังดินแดนมหัศจรรย์ซึ่งไม่มีรู้ใครรู้วิธีที่จะทำให้โดโรธีกลับบ้านได้ นอกจากพ่อมดแห่งออซ โดโรธีจึงเดินทางไปหาพ่อมดแห่งออซ เพื่อถามวิธีกลับบ้าน นอกจากการแปลเนื้อเรื่องแล้วเรายังมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคำศัพท์ ซึ่งคำศัพท์ที่ฉันสนใจ คือคำว่า witch และ wizard คำว่า witch แปลว่าแม่มด หญิงดุร้าย หญิงอัปลักษณ์ ส่วนคำว่า wizard แปลว่า พ่อมด ผู้เชี่ยวชาญหรทอมีความสามารถอย่างมหัศจรรย์นั่นเอง การรู้คำศัพท์มากบางครั้งจะช่วยให้งานแปลของเราเป็นไปอย่างง่ายขึ้น
                นอกจากนี้ฉันยังดูภาพยนตร์เรื่อง Romeo and Juliet ผลงานของวิลเลียม เชกสเปียร์ เพื่อฝึกฟังสำเนียงของเจ้าของภาษา ไม่ว่าจะเป็นสำเนียงอเมริกันหรือสำเนียงอังกฤษ นอกจากการฝึกฟังสำเนียงแล้วยังได้ฝึกฟังการพูดในชีวิตคนจริงๆในสถานการณ์ที่หลากหลายตามแต่เนื้อหาของภาพยนตรืที่ได้ชม การชมภาพยนตร์ปัจจุบันเป้นกิจกรรมที่แพร่หลายและประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุดและเป้นสื่อที่เหมาะสมในการฟังและยังเป้นช่องทางในการเรียนภาษาอังกฤษที่สำคัญอีด้วย นอกจากนี้ในเรื่องยังมีในส่วยของวัฒนธรรมเข้ามาสอดแทรกทำให้เราสามารถทำความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมง่ายขึ้น
                การเรียนรู้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนเป้นช่องทางหนึ่งที่จะสามารถเพิ่มดอกาศให้กับเราในการใช้ภาษาในสถานการณ์ที่หลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่งกิจกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตในการเรียนรู้ภาษาอังกฟษก็เป็นที่นิยมในการเรียนรู้ภาษาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่งด้วย และการชมภาพยนตร์ภาษาอังกฤษจะช่วยให้เราฝึกฝนการฟังและการพูดโดยผ่านภาษาที่มีภาพประกอบและคำบรรยายภาษาไทยจะช่วยให้เราเข้าใจความหมายด้วยตนเองอีกด้วย


Learning log 3 ในห้องเรียน

Learning log 3 ในห้องเรียน

                ถ้าเราเป็นคนไทย ใช้ภาษาไทยมาตั้งแต่เกิด เราต้องเคยมีปัญหาในการใช้ Tense อย่างแน่นอนเพราะภาษาไทยไม่มีการผันกริยาไปตามกาลเวลาเหมือนภาษอังกฤษ เช่น เมื่อวานนี้ฉันไปกินข้าวกับเจ้านายมา วันพรุ่งนี้ฉันก็จะไปกินข้าวกับเจ้านานเหมือนเดิม ซึ่งในภาษาไทยไม่ว่าเราจะ กิน ในอดีตปัจจุบันหรืออนาคต เราก็ยังคงใช้คำว่า กิน แต่ในภาษาอังกฤษจะมีกริยา 3 ช่อง ให้เราเลือกว่าจะใช้ eat ,ate หรือ eaten ซึ่งมันจะทำให้เราสับสนได้หากเราไม่แม่นกริยาสามช่องและหลักการของ Tense พอ การเรียนรู้ในห้องเรียนสัปดาห์นี้เราจะพูดถึงเรื่อง Tense เชื่องโยงกับเรื่องของภาษาศาสตร์(Linguistic) นอกจากนี้ยังมีการ Teach Less Learn More ซึ่งแปลได้ตรงตัว คือ สอนให้น้อย เรียนรู้ให้มากขึ้น และการใช้ Blended Learning การเรียนแบบผสมผสานมาใช้ในการเรียนการสอน
                เรื่องแรกจะเป็นการพูดทบทวนความรู้เดิมเรื่อง Tense ซึ่ง Tense ก็คือรูปแบบของคำกริยาที่แสดงให้ทราบว่าการกระทำหรือเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หากพูดถึงเรื่อง Tense จะเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าเราใช้ Tense ไม่ถูกเราก็จะสื่อภาษากับบุคคลอื่นไม่ได้ ในประโยคภาษาอังกฤษนั้นจอยู่ในรูปของ Tense เสมอ ซึ่งต่างกับภาษาไทยที่จะมีข้อความบอกว่าเกิดขึ้นเมื่อใดมาช่วย แต่ภาษาอังกฤษจะใช้รูป Tense เป็นตัวบอก ดังนั้นการศึกษาเรื่อง Tenseในภาษาอังกฤษจึงมีความจำเป็น Tense จะแบ่งออกเป็น 3 Tense ใหญ่ๆ คือ Present Tense (ปัจจุบัน) Past Tense (อดีตกาล) และ Future (อนาคตกาล) โดยแต่ละ Tense ยังสามารถแยกย่อยได้อีก 4 Tense คือ Simple Tense ธรรมดา (ง่ายๆไม่ซับซ้อน) Continuous Tense กำลังกระทำอยู่ (กำลังเกิดอยู่) Perfect Tense สมบูรณ์ (ทำเรียบร้อยแล้ว) และ Perfect Continuous Tense สมบูรณ์กำลังกระทำ (ทำเรียบร้อยแล้วและกำลังดำเนินอยู่ด้วย)
                โครงสร้างของ Tense ทั้ง 12 Tense มีดังนี้ Present Tense ประกอบด้วย Present Simple Tense (S+V1) พูดถึงกาลปัจจุบันและการกระทำที่เป็นกิจวัตรประจำวันหรือสิ่งที่เป็นความจริง เช่น I live in Laos. Present Continuous Tense (S+is,am,are+Ving) ใช้เมื่อการกระทำนั้นกำลังดำเนินอยู่ เช่น I’m going to Bangkok on Sunday. Present Perfect Tense (S+have,has+V3) ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตแลดำเนินเรื่อยมาจบในปัจจุบัน เมื่อพูดจบ เช่น He has lived in china for 3 years. Present Perfect Continuous Tense (S+have,has+been+Ving) ใช้เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นในอดีต และดำเนินเรื่อยมาจนถึงแจจุบันแต่ยังไม่จบ เพรายังคงต่อเนื่องไปถึงอนาคต เช่น I have been working for 3 hours. ต่อไปจะเป็นการกล่าวถึงอดีตกาล Past Tense ประกอบด้วย Past Simple Tense (S+V2) ใช้กับการกระทำที่ผ่านไปแล้วมักจะมีคำบ่งบอกอดีตกาล(yesterday, 5 minutes ago, last) เช่น I bought a phone last week. Past Continuous Tense (S+ was, were+V1) ใช้ตอนมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก่อนซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในอดีตแล้วมีอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นซ้อนกันในระยะเวลาสั้นๆ เช่น somebody farted when I was doing my exam. Past Perfect Tense (S+had+v3) ใช้เมื่อมีเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ในอดีตเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เหตุการณ์แรกเกิดก่อนและจบลงใช้ Past Perfect Tense อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นทีหลังใช้ Past Simple Tense เช่น I had cleaned my room before my friends arrived. Past Perfect Continuous Tense ใช้ได้ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ในอดีต 2 เหตุการณ์ ขณะที่เหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่ก็มีอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น เช่น before I went to sleep, I had been swimming for an hour.
                อันดับสุดท้ายก็คือ Future Tense ประกอบด้วย Future Simple Tense (S+will,shall+V1) ใช้กับการกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น I will watch a movie tomorrow night. Future Continuous Tense (S+will,shall+be+Ving) ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น When you call, I will be sleeping. Future Perfect Tense (S+will, shall+have+V3) ใช้เมื่อต้องการจบอกว่า เหตุการณ์หนึ่งได้จบสิ้นลง เมื่อถึงเวลาหนึ่งในอนาคต เช่น The skytrain will have left before you get to the platform. Future Perfect continuous Tense (S+will,shall+have+been+Ving)ใช้เมื่อต้องการจบอกว่า ณ เวลาหนึ่งในอนาคต เหตุการณ์หนึ่งซึ่งดำเนินมาก่อนนั้นยังคงดำเนินอยู่ และจะดำเนินต่อไปอีก เช่น By next year I will have been teaching English for 5 years.
                จากนี้ Teach Less Learn More คือ การสอนแบบสอนน้อยแต่เรียนรู้มาก ซึ่งการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดนี้ ผู้สอนต้องสอนให้น้อยลงหรือ Teach Less โดยการเลือกวิธีสอนตามความสามารถของผู้เรียน มีการจัดการเรียนรู้หลากหลายวิธีแต่ต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งผู้สอนจะต้องมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการวางแผนและออกแบบเตรียมสื่อแลแหล่งเรียนรู้และจะต้องเตรียมคำถามที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้น หรือ Learn Moreโดยใช้การออกแบบย้อนกลับ(Backward Design) 3 ขั้นตอน คือกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ และการวางแผนการจัดการเรียนรู้ การสอนแบบ Teach Less Learn More จะทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น มีความสนใจในเนื้อหา กล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็นได้ดีขึ้นผู้เรียนได้รู้จักแก้ปัญหาและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
                เรื่องสุดท้ายจะเป็นการใช้ Blended Learning ในการเรียนการสอน ซึ่งก็คือ การเรียนการสอนแบบผสมผสาน เป็นการผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย ซึ่งเป้าหมายก็คือการให้ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ เช่น การเรียนการสอนในชั้นเรียนร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นต้น โดยผู้เรียนจะต้องไปค้นคว้าสืบค้นข้อมูลและนำมาอภิปรายสรุปเนื้อหาเป็นแนวเดียวกัน ผู้เรียนทุกคนจะเข้าใจตรงกัน

                ทุกเรื่องที่เรียนมาในวันนี้ทำให้เราได้ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่อง Tense เพราะ Tense ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของไวยากรณ์ ถ้าเราใช้ Tense ไม่ถูกเราก็จะสื่อภาษากับบุคคลอื่นไม่ได้ นอกจากนี้เราต้องทำความเข้าใจกับโครงสร้างของ Tense ด้วยจึงจะเกิดความเข้าใจแลสามารถนำไปใช้ในแต่ละเหตุการณ์ได้ถูกต้องและนอกจากเรื่อง Tense แล้วยังทำให้เราได้รู้จักกับแนวคิด Teach Less Learn More เพิ่มมากขึ้น คือเป็นการต้องการให้ผู้สอนลดบทบาทในการสอนของตนเองให้น้อยลงแลส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น สนับสนุนให้ผู้เรียนสร้างความรู้แลแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง และสุดท้ายก็คือการนำ Blended Learning มาใช้ในการเรียนการสอนซึ่งเป็นการผสมผสานการเรียนรู้ในห้องเรียนและแบบออนไลน์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าสืบค้นข้อมูลจากเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Learning log 2 ในและนอกห้องเรียน

Learning log 2 ในและนอกห้องเรียน

                การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ในห้องเรียนหรือการเรียนรู้นอกห้องเรียนหรือการเรียนรู้นอกห้องเรียน ล้วนเป็นประสบการณ์ในการเรียนทำให้เราเกิดความรู้ ทักษะ ได้ฝึกการคิดอ่านเขียน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองให้ดียิ่งขึ้นได้เพราะการเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต เราจึงเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตเช่นกัน สำหรับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนวันนี้จะกล่าวถึง การรู้คิด(Metacognition) การรู้จักประเมินตนเอง(self-assessment)และหลักการสอนภาษาที่ดี ส่วนการเรียนรู้นอกห้องเรียนจะเป็นการศึกษากลยุทธ์ในการเรียนภาษาให้สัมฤทธิ์ผลและมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องทำอย่างไร
                สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนคือ การรู้คิด (Metacognition) เป็นความสามารถของบุคคลที่มีต่อกระบวนการคิดของตนเอง รู้ว่าอะไรที่เหมาะสมกับตนเองในการเรียนรู้ตลอดจนสามารถเลือกกลวิธีในการวางแผนกำกับควบคุมและประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้เพื่อให้การเรียนรู้หรือปฏิบัติงานต่างๆบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้สอนยังให้ผู้เรียนมีการประเมินตนเอง(self-assessment)เพื่อให้ทราบจุดอ่อนจุดแข็งของตนเองในการเรียนภาษาว่าเรามีความรู้ในเรื่องของภาษามากน้อยเพียงใดซึ่งอาจารย์ผู้สอนแต่ละคนจะมีวิธีการสอนให้ผู้เรียนมีความเข้าในในเนื้อหาแตกต่างกัน ผู้สอนจะต้องมีวิธีการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงในในการเรียน เพราะถ้าผู้เรียนมีความเข้าใจก็จะเกิดการเรียนรู้ได้ดีไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามหลักการสอนภาษาที่ดีจะต้องมีการสื่อสารที่ผู้รับสารมีการตอบสนองแลปฏิกิริยาตอบโต้กลับไปยังผู้ส่งสาร(two-way communication)ร่วมด้วยจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด
                สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียนคือ กลยุทธ์ในการเรียนภาษา การเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผล ย่อมมีเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน แต่เมื่อพิจารณาถึงที่สุดแล้วตัวผู้เรียนเองนั้นแหลที่เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด ผู้เรียนจะต้องหันกลับมาพึ่งตนเองให้มากขึ้นแต่การจะพึ่งตนเองในการเรียนภาษาจนสัมฤทธิ์ผลนั้นจะต้องดำเนินไปอย่างเป็นระบบแบบแผนโดยเริ่มตั้งแต่ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ว่าเราสามารถทำอะไรได้แค่ไหน เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน  หรือแปล ภายในกรอบเวลาใด โดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความถนัด แลการจัดสรรเวลา เมื่อกำหนดได้แล้วก็ต้องรู้จักจัดเตรียม เสาะหาสื่อแลแหล่งความรู้ที่เอื้อต่อการฝึกทักษะด้วยตนเอง เช่น อ่านข่าวและบทความจากหนังสือพิมพ์ นิตยสารรายสัปดาห์ รับชมข่าวรายการต่างประเทศจากโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ท่องเที่ยวเพื่อมีโอกาสที่จะสนทนากับนักท่องเที่ยว เป็นต้น เมื่อรู้จักจัดเตรียมและเสาะหาสื่อและแหล่งความรู้พร้อมแล้วขั้นต่อไปก็เป็นการพัฒนากลยุทธ์ในการเรียนภาษา ซึ่งมีองค์ประกอบทั้งหมด 10 ประการ ได้แก่ ศึกษา ฝึกฝน สังเกต จดจำ เลียนแบบ ดัดแปลง วิเคราะห์ ค้นคว้า ใช้งาน และปรับปรุง
                จากการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนทำให้เราได้เข้าใจกรบวนการคดที่เป็นเหตุเป็นผล รู้จักคิดวิเคราะห์จัดระบบความคิดของตนเอง รู้ว่าอะไรที่เหมาะสมกับตนเองในการเรียนรู้ และสามารถประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้เพื่อให้ทราบจุดอ่อน-จุดแข็งในการเรียนภาษาเพื่อที่จะได้นำข้อบกพร่องไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งกลยุทธ์ในการเรียนภาษาเป็นวีหนึ่งที่จะช่วยให้เรารู้วิธีในการเรียนภาอย่างไรให้ได้ผล หรือมีประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิม ซึ่งองค์ประกอบของกลยุทธ์ในการเรียนภามีทั้งหมด10 ประการ ได้แก่ ศึกษา ฝึกฝน สังเกต จดจำ เลียนแบบ ดัดแปลง วิเคราะห์ ค้นคว้า ใช้งาน และปรับปรุง