วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 12 นอกห้องเรียน

Learning Log 12 นอกห้องเรียน

                จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบรูณาการทักษะในวันที่ 29 เวลา 08.30-12.00 น. ช่วงแรก ผศ.ดร. ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล นายกสมาคมครูสอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย (Thailand TESOL) กล่าวเสวนาวิชาการงานวิจัยในหัวข้อ Beyond Language Learning โดย ดร.สุจินต์ หนูแก้ว อาจารย์สุนทร บุญแก้ว และ ผศ.ดร ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล เป็นผู้ดำเนินรายการกล่าวว่าในปัจจุบันเราจะใช้ภาษอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสืบหาความรู้ในวิชาอื่นๆ รวมทั้งที่จะไปทำงานในสาขาอื่นๆจะเห็นได้ว่าทฤษฎีในการเรียนภาษาอังกฤษนั้นมันมากกว่าการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเท่านั้น หลักการเรียนการสอนในไทยหรือทั่วโลกจะเน้นการเรียนการสอนแบบ Standard มี 5 หัวข้อใหญ่คือ 5
               C แรกคือ C-communication หมายถึง การสื่อสาร Cที่สองก็คือ C-culture ผู้เรียนจะต้อมีความรู้เรื่อง culture completion ซึ่งนอกจากเรื่องภาษาแล้วเราต้องเข้าใจบริบทของวัฒนธรรมที่เราคุยด้วย C ที่สามคือ C-comparison คือ การเปรียบเทียบตัวภาษาและวัฒนธรรมของเรากับประเทศอื่นๆและC สุดท้ายคือ C=Communityคือเราจะต้องเรียนภาษาท้องถิ่นด้วยและ 5C นี้จะเป็นหัวใจหลักที่เราจะต้องทำให้ได้มากกว่า Communication ซึ่งก็คือการสื่อสาร ซึ่งวิทยากรที่ได้เชิญมาพูดคุยก็จะมีมุมมองการเรียนภาษามันได้เกิน Beyond Language Learning ไปแล้ว ซึ่งมี social skill life skill และรวมถึง analytical skill และเราจะเรียนภาษาอย่างไรที่จะให้เด็กมีทักษะในการสื่อสารแล้วจะต้องมีทักษะในด้านอื่นๆด้วย วิทยากรในวันนี้ คือ ท่าน ดร.สุจินต์ และท่านอาจารย์สุนทร บุญแก้ว จะมาพูดคุยกันในหัวข้อ Beyond Language Learning ดร.สุจินต์ กล่าวว่า ตัวอาจารย์เองกับอาจารย์ท่านอื่นๆได้ร่วมกันทำวิจัยอยู่ชิ้นหนึ่ง และจากที่ ดร.ประกาศิตได้กล่าวว่าในด้านภาษาอังกฤษนี้เราต้องมี 5C แต่จริงๆแล้ว ถ้าเป็นบุคคลในศตวรรษที่20 ของท่านนายแพทย์วิจารณ์ พาหะนิช ท่านได้กล่าวว่า คุณลักษณะจำเป็นอย่ายิ่งที่เหมาะแก่คนในศตวรรษที่21 ในการมีชีวิตอยู่และการดำรงเรียนรู้จะต้องประกอบด้วย7C เกิน 5C ไปอีก ซึ่งเพิ่มความสามารถไปอีก 3 ประการที่คนในยุคที่21 ควรจะมีก็คือความสามารถในการอ่านการเขียน ความสามารถในการคิดคำนวณ ซึ่งถือว่าเป็นความสามารถขั้นพื้นฐาน ทำไมถึงบอกว่าการอ่านการเขียนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้เราจะได้ตัว Information หรือ ข้อมูลทั้งหลายโดยการผ่านการอ่านแม้กระทั้งในโทรศัพท์เราก็ยังต้องอ่านจึงเป็นเรื่องสำคัญแต่จะเห็นได้ว่า ผู้เรียนยุคใหม่ของเรา มีสิ่งที่ขาดนั่นก็คือการวิเคราะห์ เมื่อรับข้อมูลเข้ามาแล้วก็ไม่ทราบว่าอะไรการจะเชื่ออะไรควรจะสกัดออก อันนี้เป็นความจริงหรือเปล่าหรืออันนี้เป็นความเท็จ คือได้มาแล้วเราก็จะแชร์ๆกันต่อโดยที่เราไม่ได้วิเคราะห์ว่าสิ่งนี้เป็นแค่ Joking หรือเปล่า มันจึงทำให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นในสังคมมาก เพราฉะนั้นตัวนี้คือตัวสำคัญ ทางทีมวิจัยเลยคิดว่าสิ่งที่เราควรจะพัฒนาให้กับผู้เรียนซึ่ง Beyond Language เลยก็คือเรื่องของ Thinking skill เรื่องของการคิดเพราะสำคัญมาก ในส่วนของ7C ก็จะมีการคิดอยู่เหมือนกันในคุณลักษณะของคนในศตวรรษที่21 C แรกเลยก็คือ Critical thinking and problem solving ต้องคิดตีความให้ได้ และจะต้องรู้เท่าทันสื่อสำคัญมากคือเราจะต้องกรองให้เป็นC ต่อไปก็คือ Computing and ICT ability ความสามารถด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร สุดท้าย career and learning skill ซึ่งตัวนี้จะสำคัญกับเราในฐานะอาชีพครูเราจะต้องสอนตัวนี้ให้กับนักเรียน การที่ผู้เรียนเรียนกับเราไม่ได้หมายความว่า เขาเรียนไปแล้วเพื่อจะไปเรียนต่อเท่านั้นแต่หายความว่าถึงเขาไม่เรียนต่อเขาก็จะสามารถที่จะเอาไปประกอบอาชีพได้แล้วแต่เขาจะเลือกเส้นทางไหน แต่อย่างไรก็ตาม เขาต้องรู้เท่าทัน รู้วัฒนธรรมและต้องเป็นผู้นำและผู้ตาม และจะต้องเป็นผู้ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆจากงานวิจัยจะใช้ในส่วนนี้เป็นตัวจุดประกายพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ของบลูม ซึ่งเป็นลำดับขั้นการเรียนรู้ของคน ซึ่งบลูมได้กล่าวว่าขั้นต่ำสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์นั่นก็คือ ความรู้ความจำ (remembering) ขั้นที่สองคือความเข้าใจ (understanding) ขั้นที่สามคือ สามารถนำไปใช้ได้ ขั้นถัดไปก็คือความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (analyzing) และสุดท้ายคือการประเมินค่า แต่ต่อมาลูกศิษย์ของบลูมได้กล่าวว่า การประเมินค่ายังไม่ใช่ความสามารถขั้นสูงสุดของการเรียนรู้ ความสามารถขั้นสูงสุด นั่นก็คือเอาเรื่องของการสังเคราะห์ขึ้นไปอยู่เหนือการประเมินค่านั่นหมายความว่าหลังจากที่เราวิเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริงได้แล้ว แล้วคุณประเมินค่าเมื่อประเมินค่าเสร็จแล้ว เราก็เอาสิ่งที่เหลือมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
อาจารย์ท่านต่อไปก็คืออาจารย์สุนทร บุญแก้ว อาจารย์ท่านมีความพยายามอย่างมาที่จะให้นักเรียนของตัวเองมีความเชี่ยวชาญในด้านภาอังกฤษและทักษะอื่นๆด้วย อาจารย์จึงทำโครงการขึ้นให้เด็กนักเรียนไปประเทศมาเลเซีย และได้มีโอกาสไปร่วมโครงการ PBL (problem based learning) จากข้อสรุปที่ได้มาสัมผัสอาจารย์ก็คิดในเรื่องของการปรับปรุงหลักสูตรด้วยที่สรุปได้เป็น 3 ประเด็นที่เราต้องทำความเข้าใจ ประเด็นที่หนึ่งคือผู้เรียนไม่รู้ว่าจะเรียนภาษาอังกฤษไปเพื่ออะไร ประเด็นที่สอง ให้เด็กเรียนรู้ภาษาและเรียนรู้วัฒนธรรมการใช้ชีวิตเศรษฐกิจ ประชากรด้วย สุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือสภาพแวดล้อมต้องเอื้อต่อการเรียนรู้สรุปคือพาเด็กนักเรียนรู้ภาษาและใช้ภาษาให้เกิดประสบการณ์ learning to use language.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น