วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 7 ในห้องเรียน

Learning Log 7 ในห้องเรียน

การเรียนการสอนของภาษาล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถใช้ภาษาที่เรียนในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นที่ใช้ภาษานั้นได้ ซึ่งในการเรียนการสอนภาษา เชื่อว่า การที่จะให้ผู้เรียนมีความสารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน และสื่อสารได้ จำเป็นต้องให้ผุ้เรียนมีความรู้ในเรื่องกฎเกณฑ์โครงสร้างของภาษา เพราะถ้าผู้เขียนมีความรู้เรื่องโครงสร้างทางภาษาแล้วสามารถใช้ความรู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการสื่อสารได้ แต่ในปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าความรู้ในโครงสร้างภาษาแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถก่อให้เกิดความสามารถในการสื่อสารได้ทั้งนี้เพราะความสามารถในการสื่อสารนั้นรวมถึงความสามารถในการใช้ภาษาให้ถูกต้องและเหมาะสมเมื่อการสอนเน้นไปในด้านการใช้ภาษาจึงทำให้มีผู้เข้าใจว่าผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ไวยากรณ์ของภาษาอีกต่อไปซึ่งความเข้าใจเช่นนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดเพราะโครงสร้างทางไวยากรณ์นั้นมีส่วนทำให้สามารถใช้ภาษได้อย่างมีประสิทธิภาพการเรียนการสอนไวยากรณ์จึงมีความจำเป็น ในสัปดาห์นี้เราได้เรียนรู้ในห้องเรียนเรื่อง If-Clause ซึ่งมี 3 ประเภท
Conditional Sentence หรือเรียกอีกอย่างว่า If-Clause คือ ประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข (Condition) หรือแสดงการสมมุติ หรือการคาดการณ์ว่าถ้ามีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นแล้วก็จะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นตามมา ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยครวมกัน และเชื่อมด้วย Conjunction ‘if’ ประโยคนำหน้าด้วย if แสดงเงื่อนไข เราเรียกว่า If-clause และประโยคที่แสดงผลของเงื่อนไขนั้น เราเรียกว่า Main-Clause เช่น If it rains, I shall stay at home. (ประโยคแรกนำหน้าด้วย if เป็นประโยค if-clause ส่วนประโยคหลังแสดงผลของเงื่อนไขแรก เป็น Main-Clause) Conditional Sentence แบ่งออกเป็น 3 ประโยคใหญ่ๆคือ Present Real, Past Unreal, Present Unreal ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
แบบแรก Present Real เป็นการสมมุติถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต แสดงเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้ (probable condition) หมายความว่าถ้ามีการกระทำหรืออเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว เหตุการณ์เช่นนั้นก็จะเกอดขึ้นตามหลังมาทันที มีโครงสร้างคือ If + Present simple + Future Simple เช่น If he goes to London, he will meet his old friend. If it rains, I will not go shopping.
แบบที่สอง Present Unreal เป็นการสมมุติในปัจจุบันที่บอกความสงสัย (doubt) แสดงเงื่อนไขที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ (improbable condition) หมายถึงเงื่อนไขที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้หรือไม่อาจเป็นไปได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เป็นเรื่องที่ผู้พูดสมมุติหรือตั้งเงื่อนไขลมๆแล้งๆขึ้นมา เช่น พูดว่า ถ้าฉันเป็นนกฉันจะบินได้หรือ ถ้าฉันมีตาทิพย์ ฉันจะบอกเลขท้าย 2 ตัวให้เธอทุกงวด ทำนองนี้ เราเรียกว่า เป็นเงื่อนไขหรือการสมมุติในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ โครงสร้างคือ If+ Present Simple+ V1 เช่น If I had enough money, I would marry my girlfriend, but right now ,I am very poor. If today were Sunday, We would be at home.
แบบที่สาม Past Unreal เป็นการสมมุติ แสดงเงื่อนไขที่ไม่อาจเป็นไปได้เลยและตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในอดีต การสมมุติในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตและผู้พูดก็ทราบดีว่าเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร แต่ผู้พูดก็นำมาพุดสมมุติเสียใหม่คือ สมมุติให้ตรงกันข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เช่น ข้อความว่า ถ้าคุณไม่ได้ฆ่าน้องชายเขา คุณก็คงไม่ติดคุกซึ่งความจริงที่เกิดขึ้นคือ คุณได้ฆ่าน้องชายของเขา ดังนั้นคุณจึงต้องติคุก ลักษณะเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งความจริงที่เกิดขึ้น คือคุณได้ฆ่าน้องชายของเขา ดังนั้นคุณจึงต้องติดคุก ลักษณะเหตุการณ์ดังกล่าว เรียกว่า การสมมุติหรือเงื่อนไข ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น มีโครงสร้าง คือ If+ Past Perfect+ would+ Present Perfect (-ed) เช่น If I had known of your arrival, I should have met you. (but I didn’t know, so I didn’t meet you.) ใน Conditional Sentence จะขึ้นต้นด้วยประโยค If-Clause
จะเห็นได้ว่าการศึกษาโครงสร้างของไวยากรณ์มีความสำคัญ ซึ่งมีส่วนช่วยในการเป็นฐานความรู้เพื่อใช่ต่อยอดการพูดภาษาอังกฤษต่อไปได้ ซึ่งการศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์ในบางเรื่องอาจมีความซับซ้อน แต่ถ้าหากเราตั้งใจอ่านและทำความเข้าใจ มันก็ไม่มีอะไรยากสำหรับเราเลย การเรียนเรื่อง If- Clause ในวันนี้ทำให้เรามีความรู้และเข้าใจในโครงสร้างของ If-clause ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง และหมายถึงอะไร นอกจากนี้ยังได้ทำความเข้าใจกับประโยค If-Clause แต่ละแบบ ทำให้เราเห็นภาพมากขึ้นว่าควรใช้รูปแบบประโยคแบบไหนและต้องใช่ในสถานการณ์ใด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น