วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 10 ในห้องเรียน

Learning Log 10 ในห้องเรียน

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าไวยากรณ์มีความสำคัญหลายประการหากเปรียบไวยากรณ์เป็นเหมือนกระดูกสันหลังที่เป็นพื้นฐานช่วยให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษประสบความสำเร็จในการเรียนทั้งทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียน โดยเฉพาะทักษะการเขียน ผู้เขียนจะต้องรู้จักเรียบเรียงประโยคให้เป็นข้อความที่สามารถสื่อสารและทำให้ผู้อ่านเข้าใจในแนวคิดของผู้เขียนซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดความคิดความรู้ของตนออกมาให้ผู้อ่านได้เข้าใจต้องอาศัยความรู้ความสามารถในด้านศัพท์ ไวยากรณ์ การสะกดคำ และเครื่องหมายวรรคตอน โดยเฉพาะความรู้ด้านไวยากรณ์มีความสำคัญมากและเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การเขียนมีความชัดเจนเพื่อที่จะสามารถสื่อสารความคิดกับผู้อ่านและผู้ฟังได้
การเขียนโครงสร้างทางไวยากรณ์ถ้าได้รับการสริมแรงจากทักษะการเขียนก็จะทำให้โครงสร้างทางไวยากรณ์มีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น และผู้เรียนจะได้มีโอกาสนำเสนอโครงสร้างต่างๆที่ตนเรียนมาเรียบเรียงเป็นประโยคของตนเองทำให้เกิดความภูมิใจว่าตนเองก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ เช่น หลังจากการสอนเรื่อง Present Simple Tense แล้วครูผู้สอนก็สอนให้ผู้เรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับชีวิตกิจวัตรประจำวันของผู้เรียนก็จะเป็นการเสริมแรงให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับกริยาในรูปแบบปัจจุบันกาล ถ้าการเรียนการสอนเป็นไปตามนี้แล้วทักษะการเขียนจะเป็นธรรมชาติและมีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้นและจะไม่รูสึกหวาดกลัวหรือตื่นเต้นต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพราะคำพูดที่ว่าผู้เรียนประสบปัญหาเพราะขาดความแม่นยำในเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์ก็จะค่อยๆหมดไป
ไวยากรณ์ในห้องเรียนสัปดาห์นี้จะกล่าวถึงเรื่อง Noun Clause ซึ่งมีรูปแบบประโยคมีภาคประธานและภาคแสดง มีลักษณะเหมือนประโยคย่อยที่ซ้อนอยู่ภายใน โดยใช้คำนำหน้าประโยคเพื่อเชื่อมต่อกับประโยคใจความหลัก ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำนามดังกล่าวเรียกว่า noun clause ซึ่งทำหน้าที่ต่าง ๆ กันในประโยคโดยมีการใช้คำนำหน้าและสามารถลดรูปได้
Noun Clause แปลว่า นามานุประโยค หมายความว่า ประโยคนั้นทั้งประโยคถูกนำมาใช้เสมือนกับเป็นคำนามคำหนึ่ง และวิธีสังเกตว่า Clause ใดเป็น Noun Clause นั้นให้สังเกตได้ดังนี้คือ Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคของมันด้วย that ซึ่งแปลว่า ซึ่ง และ/หรือ Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคของมันด้วยคำที่แสดงคำนาม คือ How, which, what, where, when, why, who, whose, whom เช่น I don’t know how  
               
หน้าที่ของ Noun Clauses เมื่อนำมาใช้อย่างนาม เสมือนเป็นคำนามก็ย่อมทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับคำนามทั่วๆไปในทางไวยากรณ์นั่นคือ 1.เป็นประธานได้ (subject) ของกริยาได้ เช่น  a.  His statement is correct. b. What he said is correct. ในตัวอย่างข้างล่างประโยค a มีคำนามหรือกลุ่มคำนาม (noun phrase)  และประโยค มี  noun clause  ในตำแหน่งเดียวกันกับประโยค จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า What he said (สิ่งที่เขาพูด) ในประโยค b เป็นประโยคย่อย คือมีภาคประธาน he และภาคแสดง said โดยซ้อนอยู่ในประโยคอีกประโยคหนึ่งและทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคนั้นเทียบได้กับกลุ่มคำนาม His statement (คำพูดของเขา) ซึ่งเป็นประธานของประโยค a  2.เป็นกรรม (object) ของกริยาได้ เช่น I want to know where she live. ผมอยากรู้ว่าหล่อนอยู่ที่ไหน(where she lives เป็นกรรมของกริยา know) He promised that he would pay back the debt. เขาให้สัญญา เขาจะใช้หนี้คืนให้ (that he would pay back the debt. เป็นกรรมของกริยา promised) 3.เป็นกรรม (object) ของบุรพบท (preposition) ได้ เช่น Wanna laughed at what you said. วรรณนาหัวเราะเยาะสิ่งที่คุณพูด (what you said เป็นกรรมของ at) She is waiting for what she want. หล่อนกำลังรอคอยสิ่งที่หล่อนต้องการ (what she want เป็นกรรมของ for) 4.เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา (complement) ของกริยาได้ เช่น It seems that It is possible ดูเหมือนว่ามันเป็นไปไม่ได้ that It is possible เป็นส่วนสมบูรณ์ของคำกริยา seems) This is what you want. (What you want เป็นส่วนสมบูรณ์ของคำกริยา is ) 5. เป็นคำซ้อนของนามตัวอื่นได้ (appositive) เช่น His belief that coffee will keep him alert is incorrect.ความเชื่อของเขาที่ว่า กาแฟจะทำให้เขาตื่นอยู่เสมอนั้นไม่ถูกต้อง (that coffee will keep him alert เป็นคำซ้อนของ belief)
คำนำหน้า noun clause มีคำที่ใช้นำหน้าเพื่อเชื่อมกับ main clause คำที่ใช้นำหน้าดังกล่าว
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อยคือ 1. That นำหน้า noun clause ที่เป็นประโยคทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่า
หรือประโยคปฏิเสธ ตัวอย่าง เช่น That he will come is certain.  (การที่เขาจะมาเป็นสิ่งแน่นอน) คำว่า that มีความหมายว่า “การที่” ในกรณีที่ noun clause เป็นประธานของคำกริยาใน main clause และ that มีความหมายว่าว่าในกรณีที่ noun clause เป็นกรรม อนึ่ง noun clause ที่นำหน้าด้วย that มีโครงสร้างของประโยคครบถ้วน การนำ that ไปวาง ข้างหน้า noun clause เป็นเพียงการเชื่อม noun clause กับ main clause
การละ That (omission of that) ในประโยค noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย that หรือนำหน้าประโยคด้วย that นั้นถ้าเป็นภาษาธรรมดา (Informal) โดยเฉพาะภาษาพูดแล้วเราจะละ that เสมอ เช่น  He says coffee grows in Brazil. (=He says coffee grows in Brazil.) เขาพูดว่า กาแฟปลูกในประเทศบราซิล I know he’ll return soon. (=I know he’ll return soon ผมรู้ว่าเขาจะกลับมาเร็วๆนี้) 2.Noun Clause ที่ทำหน้าที่ด้วย wh-words จะมีหน้าที่บางประการใน Noun clause ดังนี้ Who, Whoever, Whom, Whomever ทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน Noun clause เช่น I want to know who he has chosen to marry. Whose คำนามที่ตามหลัง whose ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม กรรมตามบุพบทและส่วนเสริมประธานใน Noun clause เช่น I ask whose money was stolen. What, Whatever ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรมและส่วนเสริมประธานใน noun clause เช่น I want to know what her name is. Which, whichever มักมีคำนามตามหลัง โดยทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน noun clause เช่น I don’t know which brand is worth buying. Where, When, Why, How ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ในสถานที่ (Where, Wherever บอกสถานที่ เช่น Where he will stay has yet to be decided. When, whenever ใช้บอกเวลา เช่น you must find out when he is due to arrive at the airport. Why ใช้บอกสาเหตุหรือเหตุผล เช่น why he went to china was not known. How ใช้บอกกริยาอาการ เช่น Describe how you felt at the time.
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น