วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 8 นอกห้องเรียน

Learning Log 8 นอกห้องเรียน

ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล นับว่าเป็นภาษาอีกภาษาหนึ่งที่คนไทยเป็นจำนวนมากคุ้นเคย ในปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มีโอกาส สัมผัสกับภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันจากสื่อต่างๆเช่น จากตำรา หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น และนับแต่อนุบาลจนกระทั่งจบการศึกษาคนไทยรู้จักภาษาอังกฤษอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างดีทีเดียว แต่ในปัจจุบันพบว่านักเรียนไทยส่วนใหญ่ยังมีข้อบกพร่องในการใช้ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการออกเสียงอาจเป็นเพราะได้เรียนรู้แต่กฎเกณฑ์ด้านไวยากรณ์และการเพิ่มพูนคำศัพท์แต่ไม่ได้รับการฝึกฝนการออกเสียงงภาษาอังกฤษได้ถูกต้องซึ่งการสื่อความหมายด้วยภาษาอังกฤษให้ได้ผลดีนั้นไม่ควรละเลยทักษะด้านการออกเสียงเพราะมันมีส่วนช่วยให้เราสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เสียงในภาษาอังกฤษหลายเสียงไม่มีในภาษาไทย จึงทำให้เกิดปัญหาสำหรับคนไทยเมื่อต้องออกเสียงนั้นๆ เช่น สียง /v/ ในคำ van ส่วนใหญ่คนไทยก็จะออกเสียงที่สะกดด้วยตัว ว ในภาษาไทยซึ่งไม่ถูกต้อง หรือแม้ว่าเสียงในภาษาอังกฤษบางเสียงจะมีในภาษาไทยแต่ตำแหน่งที่สียงนั้นปรากฏในคำก็จะต่างกัน เช่นเสียง /f/ ในภาษาอังกฤษเป็นได้ทั้งเสียง พยัญชนะต้น fan แล้เสียงพยัญชนะท้าย safe แต่ในภาษาไทยเสียงพยัญชนะที่สะกดด้วยตัวอักษร ฟ หรือ ฝ จะไม่ปรากฏในตำแหน่งท้ายคำ หรือเป็นเสียงพยัญชนะท้ายคนไทยส่วนใหญ่จึงออกเสียงพยัญชนะท้ายของคำ safe ไม่ถูกต้อง กล่าวคือจะออกสียงพยัญชนะท้ายเหมือนกับสะกดด้วย พ หรือ บ เป็นต้น
นอกจากนี้คนไทยบางคนก็ไม่ค่อยจะเข้มงวดกับการออกเสียงที่สะกดด้วย ร และ ล ถ้าหากจะมีคนพูดว่า ลูกของฉันถูกเพื่อนลังแก เลยไม่ชอบไปโลงเลียนแม้ว่าจะไม่ถูกต้องในแง่ของการออกเสียงตัว ร ในคำ รังแกและโลงเลียน แต่เรายังเข้าใจความหมายของประโยคนี้ เพราะในภาษาไทย ถึงจะมีคำ ลังและโลงแต่ก็ไม่มีคำ ลังแกและโลงเลียน แต่ในภาษาอังกฤษ ถ้าเราออกเสียง /l/ และ /r/ สับสนกัน เป็นว่า ออกเสียง /r/ เป็นเสียง /l/ แทนจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายของประโยคผิดไป เช่นถ้าผู้พูดต้องการพูดประโยค“Jane’s answer war wrong” แต่ไปพูดว่า “Jane’s answer was long” แทนที่ผู้ฟังจะเข้าใจว่า คำตอบของเจนผิดกลับไปเข้าใจว่า คำตอบของเจนยาว ดังนี้เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่คนไทยส่วนใหญ่มักประสบเมื่อพูดภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้การฟัง ยังเป็นการเรียนรู้ที่สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าจะ1นาที หรือ เป็นชั่วโมง การฝึกฟังที่ดีที่สุด คือการฟังข่าวภาษาอังกฤษ ซึ่งช่องทางการฟังมีหลายรูปแบบ เช่น ดูข่าวผ่านทีวี ,CNN,BBC หรือช่องทางอื่นๆหรือฟังข่าวออนไลน์ผ่านมือถือ การฟังข่าวนั้นนอกจากจะได้สำเนียงของเจ้าของภาษาแล้วยังได้ตำศัพท์ (Vocabulary) รูปแบบประโยคในภาษาอังกฤษ และการแปล (Translation) อีกด้วยซึ่งในวันนี้เราจะพูดถึงการเรียนรู้ศัพท์จากข่าว เป็นการให้เราได้ฝึกค้นหาความหมายของศัพท์ที่ใช้บ่อยๆในการรายงานข่าว เพื่อให้เราคุ้นเคยกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งที่ใช้กันโดยทั่วไปและใช้ในสาขาต่างๆเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานในการอ่านและการแปลข่าวต่อไปได้ ซึ่งตัวอย่างที่สืบค้นหาจะมีความหมาย ชนิดของคำ และการใช้คำศัพท์ในสถานการณ์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น
คำแรก abuse (n, v) หมายถึงใช้ในทางที่ผิด การงดการกระทำที่เสื่อมเสียในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในลักษณะใด เช่น  power abuse การใช้อำนาจในทางที่ผิด child abuse การกระทารุณเด็กด้วยการทำให้ทำงานหนักหรือการกักขังเฆี่ยนตีหรือด้วยการกระทำชำเราเด็ก drug abuse การใช้ยาที่ผิดวัตถุประสงค์เพื่อเจตนาที่ไม่ดีหรือการใช้ยาเป็นสารเสพติดนั่นเอง เมื่อใช้ทำหน้าที่คำกริยา (V.) จะแปลว่า ใช้ไปในทางที่ผิด เช่น She abuse my friendship.เธออาศัยมิตรภาพที่ฉันมีให้เธอเพื่ออหลอกใช้ฉัน
คำที่สอง activist (n.) หมายถึงนักเคลื่อนไว มักใช้กับผู้ที่เคลื่อนไหวทางการเมือง (political activist) เพื่อเรียกร้องสิ่งที่ต้องการหรือต่อต้านสิ่งที่ไม่เห็นด้วยซึ่งการเคลื่อนไหวนั้นอาจเป็นการเดินขบวน (demonstration) หรือการอดอาหารประท้วง (hunger strike) เช่น Activist marched through to protest construction of the fourth nuclear plant.
คำที่สาม autonomy มาจากรากศัพท์ภาษากรีก auto แปลว่า ตัวเอง,ตนเอง และ nomos ซึ่งแปลว่า กฎหมาย มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า self-rule โดยปกติจะใช้กับดินแดนซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐอื่นและต่อมาได้รับอิสรภาพคืน เช่นในกรณีที่อิสราเอลได้ยินยอมให้ชาวปาเลสไตน์ในเขตฉนวนกาซ่า (Gaza Strip) และเมือง Jericho ใน West Bank มีสิทธิในการปกครองตนเองอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่อิสราเอลได้ยึดปกครองดินแดนเหล่านี้มาเกือบ 27 ปี (Autonomy comes to Gaza Strip at last.)
คำที่สี่ bill (n.) หมายถึงร่างกฎหมายที่สมาชิกรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขอความเห็นชอบและประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้วนายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติขึ้นทูลเกล้าถวาย เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงปรมาภิไทยหลังจากได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกขา (The royal Gazette) แล้วร่างพระราชบัญญัติจะแปลสภาพเป็นพระราชบัญญัติ (act) และมีผลบังคับใช้ให้เป็นกฎหมาย (statute)
คำที่ห้า คือ blanket (n) รวม,อเนกประสงค์ โดยปกติแล้วจะแปลว่าผ้าห่ม แต่เมื่อขยายคำนามจะหมายความว่า รวม เช่น a blanket insurance policy จะแปลว่ากรมธรรม์คุ้มครองรวมซึ่งผู้ประกันชำระเงินประกันจำนวนเดียว แต่จะได้รับการคุ้มครองรวมหลายรายการในกรณีนี้ให้ blanket support ดับผู้ใดผู้หนึ่งนั้นจะหมายถึงการให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยไม่พิจารณาเดิมควรว่าเหมาะหรือไม่ เช่น Coalition MPs cannot blindly give blanket support to ministers facing a no confidence motion.
นอกจากนี้ การออกสียงในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่สำคัญมากถ้าหากเราออกเสียงผิดก็อาจทำให้การแปลความหมายนั้นผิดไปด้วย วันนี้เรามี 10 คำ ที่คนไทยออกเสียงผิดมากที่สุด (Asian Vegetables) มานำเสนอควบคู่กับ VCD ที่แนบมาในหนังสือ คำแรก Suite เวลาคุณไปพักโรงแรมคุณต้องการห้องหรูหราที่สุด คุณจะขอห้องสูตใช่ไหม ภาษาไทยอาจเรียกว่า สูต แต่ภาษาอังกฤษไม่เรียกอย่างนั้น ห้องชุดแบบนี้เรียกว่า Snite เหมือนคำว่า Sweet ออกเสียงเหมือนกัน ส่วนห้องสูตนั้น ฝรั่งจะนึกถึง Suit หรือเสื้อสูต
                คำที่สอง Excuse me ขอโทษครับ/คะ จะพูว่าอย่างไรลองนึกถึงตัว xป ตามมาด้วย q และก็ smee ตอนท้ายหรือ x+ q+ smee นี่แหละคือวิธีออกเสียง Excuse me คำที่สาม Asia ทวีปนี้ออกเสียงอย่างไร ภาษาไทยออกเสียงว่า เอเชีย แต่ฝรั่งออกเสียงไม่เหมือนกัน คำที่สี่ Juice น้ำผลไม้ เรียกว่าอย่างไรใครๆที่ตอบ จู-อีส เตรียมแพ๊คกระเป๋ากลับบ้าน เพราะที่ถูกคือ จูส หรือ จิว-ส คำที่ห้า six ห้ามออกเสียงว่า sick เพราะว่า sick หมายถึง ป่วยไม่สบาย หมายเลข 6 อ่านว่า six โดยมีเสียง s ในตอนท้าย
                คำที่หก Electricity ไฟฟ้า ไมใช่ electric-city ที่ถูกคือ Electricity หรือ อิ- เล็ก- ทริส- สิ- ที่ เป็นคำ adjective คือ electric หรือ อิ-เล็ค-ทริค คำที่เจ็ด busy ยุ่งไหมถ้ายุงก็บอกว่า I am busy คำนี้ออกเสียงว่า บิ-ซี่ แต่จริงๆแล้วตัว s ออกเสียงเป็น z busy เช่นเดียวกับ business ที่แปลว่าธุรกิจ business พยางค์ที่สองแทบจะหายไป  คำที่แปด Island คำนี้สะกดด้วย s แต่ไม่ออกเสียง เราจะพูดว่า ไอ- ลึน-ด ส่วน Iceland ก็เป็นประเทศหนาวๆประเทศหนึ่งในยุโรป
                ดังนั้นการออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ชัด จึงเป็นปัญหาให้กับเราโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะการสื่อสารที่นอกจากผู้อื่นจะไมเข้าใจที่เราพูดแล้วยังทำให้เรื่องเล็กๆกลายเป็นเรื่องใหญ่ๆได้เสมอ เพราะแปลความหมายที่ฟังมาผิด ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มาจากคนฟัง แต่เป็นคนพูดต่างหากที่พูดเพี้ยนไป ซึ่งเรามีวิธีแก้ง่ายนิดเดียวนั่นก็คือการอ่านคำศัพท์ควบคู่ไปกับการเปิดฟังคำศัพท์และฝึกออกเสียงทุกๆวันอย่างน้อยวันละครั้งก็จะช่วยให้เราสามารถออกเสียงภาษาอังกฤษได้ถูกต้องกว่าเก่าปัญหาเรื่องแปลความหมายผิดก็จะลดลงจนในที่สุดก็ไม่ผิดเลย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น