วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning log 5 นอกห้องเรียน

Learning Log 5 นอกห้องเรียน

การเรียนรู้นอกห้องเรียนในปัจจุบันมีสื่อเทคโนโลยีที่หลากหลายที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ เช่น YouTube, Google, BBC เป็นต้น ซึ่งง่ายต่อการค้นหาข้อมูล และยังได้รับข้อมูลที่หลากหลายจากทุกมุมโลก นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเวลาได้เช่นในการค้นหาคำศัพท์ในปัจจุบันจะมีคิดชันนารีออนไลน์ เพียงพิมพ์คำศัพท์ลงไปและกดค้นหาเพียงไม่กี่วิคำศัพท์พร้อมความหมายจะปรากฏขึ้นบนหน้าจอ จะช่วยให้เราค้นหาคำศัพท์ได้อย่างรวดเร็วดีกว่าการเปิดดูดิกชันนารี สื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ นอกจากจะให้ความบันเทิงกับผู้ใช้แล้วยังช่วยในการฝึกทักษะการ ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้อีกด้วย เนื่องจากในตอนนี้มีการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร การฝึกทักษะการฟัง พูด จึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเราพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เมื่อเข้าอาเซียนเราก็จะไม่สามารถพูดคุยกับบุคคลอื่นๆได้ หากการศึกษาความรู้นอกห้องเรียน สิ่งที่ได้เรียนรู้มี 1 ประเด็น คือ ฝึกการฟังภาษาอังกฤษจากการดูภาพยนตร์เรื่อง monster house กำกับโดย จิล คีนัน
ภาพยนตร์เอนิเมชั่นออกแนวน่ากลัว เรื่อง monster house มีเนื้อเรื่องคร่าวๆคือ ดีเจ เด็กชายผู้สำรวจพื้นที่ด้วยกล้องโทรทรรศและหาสาเหตุของความผิดปกติทางฝั่งตรงข้ามของบ้านของเขา พบว่ามีผู้ชายแก่ๆที่ชื่อ เนบเบอร์เคร็กเกอร์ไล่ใส่กับเด็กๆทุกคน มันเป็นกฎของเขาที่ห้ามไม่ให้ทุกคนกล้ำกลายหรือผ่านเข้ามาบริเวณนั้น เพราะบ้านหลังนี้คือบ้านที่มีชีวิตและเขมือบของทุกชิ้น ดีเจ มีเพื่อนสนิทอ้วนๆชื่อว่าชาวน์เดอร์และเจนนี่ ทั้งสามคนได้ตกลงวางแผนที่จะทำลายบ้านของ เนบเบอร์เคร็กเกอร์ ซึ่งได้สืบค้นหาหหลักฐานที่ว่าบ้านหลังนี้มีอะไรสักอย่างหนึ่ง พวกเขาได้รู้ว่าบ้านหลังนี้คือภรรยาของคุณเนบเบอร์เคร็กเกอร์ที่เสียชีวิตลงร่างของเธอถูกคลุมไปด้วยปูนซีเมนต์ เนบเบอร์เคร็กเกอร์ได้ทำพิธีบูชาศพแก่เธอไว้และวิญญาณของเธอได้สิงสถิตที่บ้านไม้เก่าๆหลังนั้น ทั้งสามคน จึงคิดพิชิตหาจุดอ่อนคือเตาผิงไฟที่เป็นหัวใจของเธอ และเขาได้หาทางทำลายบ้านไม้หลังนั้นจนสำเร็จในคืนก่อนที่เริ่มจัดงานวันฮัลโลวีน
ปัญหาจากการฝึกฟังภาษาจากภาพยนตร์เรื่องนี้พบว่าเสียงพูดของตัวละครบางตัวเบาเกินไปทำให้ฟังอยาก แต่โดยรวมๆแล้วก็เข้าใจภาษาที่พูด แรกๆเราอาจจะฟังไม่รู้เรื่อง เพราะไม่คุ้นกับสำเนียงเจ้าของภาษาทั้งสำเนียงอักฤษและสำเนียงอเมริกัน ดังนั้นในการฝึกภาษาในการดูภาพยนตร์ควรดูด้วยซับไตเติลในภาษาไทยก่อนและเมื่อเราเข้าใจภาพยนตร์แล้ว เราก็สามารถเปลี่ยนเป็นซับไตเติลภาษาอังกฤษได้ นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้วิธีการสร้างคำ สำนวนภาษาอังกฤษที่ใช้อยู่บ่อยๆในชีวิตประจำวัน ได้ฝึกฟังการออกเสียงจากเจ้าของภาษา และเรายังได้เรียนรู้คำศัพท์อีกด้วยแต่ส่วนมากคำศัพท์จากภาพยนตร์จะเป็นคำแสลง เมื่อเรานำไปใช้ในการเรียนในชีวิตประจำวันควรเลือกใช้ให้เหมาะสมและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ด้วย
จากการฟังภาษาอังกฤษจากภาพยนตร์ ทำให้เราได้เรียนรู้คำศัพท์ สำนวน ภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยๆอาจมีคำแสลงป่นอยู่บ้าง แต่หากเราใช้ให้เหมาะสมก็จะเป็นประโยชน์ได้นอกจากนี้ยังได้ฝึกฟังสำเนียงจากเจ้าของภาษา ทำให้เราคุ้นชินกับสำเนียงและสามารถที่จะฟังภาษาอังกฤษได้รู้เรื่อง และสามารถที่จะฝึกพูดภาษาอังกฤษได้อีกทางด้วย เป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ต้องเสียเวลาจ้างติวเตอร์ต่างชาติแพงๆ แต่การฝึกฟังภาษาจากการดูภาพยนตร์แรกๆเราควรดูด้วยซับไตเติลภาษาไทยก่อน และเมื่อเราเข้าใจเนื้อเรื่องแล้ว เราก็สามารถเปลี่ยนเป็นซับไตเติลภาษาอังกฤษได้ เพียงเท่านี้เราก็สามารถที่จะฟังภาษาอังกฤษได้รู้เรื่อง ถ้าหากว่าเราตั้งใจฟังและฟังภาพยนตร์บ่อยๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น